border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; border-bottom-color:#ffffff; padding-top:10px; padding-right:14px; padding-bottom:1px; padding-left:29px; } html>body .post-body { border-bottom-width:0; } .post p { margin:0 0 .75em; } .post-footer { background: #ffffff; margin:0; padding-top:2px; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px; font-size:100%; line-height:1.5em; color: #666666; } .post-footer p { margin: 0; } html>body .post-footer { border-bottom-color:transparent; } .uncustomized-post-template .post-footer { text-align: right; } .uncustomized-post-template .post-author, .uncustomized-post-template .post-timestamp { display: block; float: left; text-align:left; margin-right: 4px; } .post-footer a { color: #456; } .post-footer a:hover { color: #234; } a.comment-link { /* IE5.0/Win doesn't apply padding to inline elements, so we hide these two declarations from it */ background/* */:/**/url("http://www.blogblog.com/rounders/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } html>body a.comment-link { /* Respecified, for IE5/Mac's benefit */ background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } .post img { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:5px; margin-left:0; padding:4px; border:1px solid #bbbbbb; } blockquote { margin:.75em 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px 0; padding:5px 15px; color: #558866; } .post blockquote p { margin:.5em 0; } #blog-pager-newer-link { float: left; margin-left: 13px; } #blog-pager-older-link { float: right; margin-right: 13px; } #blog-pager { text-align: center; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; margin-left: 13px; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments { margin:-25px 13px 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; padding-top:20px; padding-right:0; padding-bottom:15px; padding-left:0; } #comments h4 { margin:0 0 10px; padding-top:0; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; font-size:120%; line-height:1.4em; color:#0066CC; } #comments-block { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:0; margin-left:9px; } .comment-author { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat 2px .3em; margin:.5em 0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; font-weight:bold; } .comment-body { margin:0 0 1.25em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; } .comment-body p { margin:0 0 .5em; } .comment-footer { margin:0 0 .5em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:.75em; padding-left:20px; } .comment-footer a:link { color: #333; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 5px; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; border: 4px solid #0066CC; } .profile-datablock { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding-top:8px; } .profile-link { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_profile.gif") no-repeat left .1em; padding-left:15px; font-weight:bold; } .profile-textblock { clear: both; margin: 0; } .sidebar .clear, .main .widget .clear { clear: both; } #sidebartop-wrap { background:#ffffff url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_bot.gif") no-repeat left bottom; margin:0px 0px 15px; padding:0px 0px 10px; color:#0066CC; } #sidebartop-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_top.gif") no-repeat left top; padding: 10px 0 0; margin:0; border-width:0; } #sidebartop h2 { line-height:1.5em; color:#0066CC; border-bottom: 1px dotted #0066CC; font: normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; margin-bottom: 0.5em; } #sidebartop a { color: #3D81EE; } #sidebartop a:hover { color: #99C9FF; } #sidebartop a:visited { color: #99C9FF; } #sidebar a { color: #ffffff; } #sidebar a:hover, #sidebar a:visited { color: #ffffff; } /* Sidebar Boxes ----------------------------------------------- */ .sidebar .widget { margin:.5em 13px 1.25em; padding:0 0px; } .widget-content { margin-top: 0.5em; } #sidebarbottom-wrap1 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_top.gif") no-repeat left top; margin:0 0 15px; padding:10px 0 0; color: #C3D9FF; } #sidebarbottom-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:0 0 8px; } .sidebar h2 { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding:0 0 .2em; line-height:1.5em; font:normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; } .sidebar ul { list-style:none; margin:0 0 1.25em; padding:0; } .sidebar ul li { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_arrow_sm.gif") no-repeat 2px .25em; margin:0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:3px; padding-left:16px; margin-bottom:3px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; line-height:1.4em; } .sidebar p { margin:0 0 .6em; } #sidebar h2 { color: #ffffff; border-bottom: 1px dotted #ffffff; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer-wrap1 { clear:both; margin:0 0 10px; padding:15px 0 0; } #footer-wrap2 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_top.gif") no-repeat left top; color:#C3D9FF; } #footer { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:8px 15px; } #footer hr {display:none;} #footer p {margin:0;} #footer a {color:#C3D9FF;} #footer .widget-content { margin:0; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #main-wrap1, body#layout #sidebar-wrap, body#layout #header-wrapper { margin-top: 0; } body#layout #header, body#layout #header-wrapper, body#layout #outer-wrapper { margin-left:0, margin-right: 0; padding: 0; } body#layout #outer-wrapper { width: 730px; } body#layout #footer-wrap1 { padding-top: 0; } } #navbar { display:none; } -->
แหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งออก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานแสดงสินค้า
หากมีข้อสงสัยที่ท่านต้องการทราบเป็นพิเศษ โปรดแจ้งที่ kawi2517@gmail.com
เรายินดีค้นหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้กับท่านค่ะ
 

9/12/2008

การคำนวณต้นทุนและการตั้งราคาสินค้าเพื่อการส่งออก 3

การกำหนดราคาสินค้าเพื่อการส่งออก

ในการซื้อสินค้าระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออกนั้นจะมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังต่อไปนี้

1. ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสอบถามราคาสินค้าจากผู้ขายหรือผู้ส่งออก
2. ผู้ขายหรือผู้ส่งออกคำนวณราคาสินค้าส่งออกส่งให้แก่ผู้ซื้อ
3. เมื่อผู้ซื้อได้รับราคา ก็จะนำไปคำนวณหาต้นทุนนำเข้า ประมาณราคาขาย และกำไรที่คาดว่าจะได้รับ
4. ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต่อรองราคาจนตกลงกันได้
5. มีการจัดทำสัญญาซื้อขายระหว่างกัน

เนื่องจากราคาที่ตกลงซื้อขายระหว่างกัน เป็นส่วนประกอบของการบริหารธุรกิจส่งออก การกำหนดราคาดังกล่าวต้องยืดหยุ่นตามสภาพการทางการตลาด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นราคาที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ ดังนั้นการกำหนดราคาสินค้าเพื่อการส่งออก จึงเป็นไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1.
ผู้ส่งออกวิเคราะห์ตลาด อุปสงค์ อุปทาน ระดับราคาและสภาพการแข่งขันในตลาดสินค้าที่จะส่งออก
ขั้นที่ 2. พิจารณานโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศ กฎระเบียบของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีผลกระทบต่อการนำเข้าและการส่งออก
ขั้นที่ 3. พิจารณานโยบายธุรกิจและนโยบายการตั้งราคาของกิจการที่กำหนดไว้ในขณะนั้น
ขั้นที่ 4. รวบรวม จำแนกประเภท และวิเคราะห์ต้นทุนดังได้กล่าวมาข้างต้น
ขั้นที่ 5. เลือกวิธีกำหนดราคาที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ โดยคำนึงถึงผลกระทบจากปัจจัยและตัวแปรต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว
ขั้นที่ 6. จัดทำใบเสนอราคาต่อลูกค้าหรือผู้นำเข้า

ในทางทฤษฎี การกำหนดราคาสินค้าเพื่อการส่งออกอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1. การกำหนดราคาตามสภาพตลาด
ประเภทที่ 2. การกำหนดราคาตามต้นทุน

ประเภทที่ 1. การกำหนดราคาตามสภาพการทางการตลาด
เนื่องจากสภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องตั้งราคาขายตามสภาพแวดล้อมของตลาดในขณะนั้นเป็นสำคัญ กรณีนี้ผู้ส่งออกจะต้องสำรวจและวิจัยตลาดไว้ล่วงหน้า แล้วตั้งราคาขายที่สามารถจะแข่งขันในตลาดได้ ดังนั้นราคาดังกล่าวอาจจะเป็นราคานำ (Price Leading) หรือราคาตาม (Price Following) หรือตั้งราคาไว้หลาย ๆ ราคา (Differential Price) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเจาะตลาดในระดับต่าง ๆ เราเรียกวิธีการคำนวณราคาตามสภาพตลาดว่าเป็นการกำหนดราคาตามเป้าหมาย (Target Price) ธุรกิจจะใช้ราคาดังกล่าวนี้เป็นเป้าหมายในการวางแผนลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเกิดจากการส่งออก ทั้งนี้เพื่อให้ได้กำไรตามต้องการและต้นทุนที่ประมาณ ขึ้นมาเพื่อให้ได้กำไรและราคาขายตามต้องการ ก็คือ ต้นทุนตามเป้าหมาย (Target Cost) ซึ่งอาจคำนวณได้จากสมการดังต่อไปนี้

ต้นทุนตามเป้าหมาย = ราคาขายตามเป้าหมาย – กำไรที่ต้องการ

ในทางปฏิบัติจะปรากฏว่า แม้บริษัทที่เข้าแข่งขันในตลาดจะกำหนดราคาขายตามเป้าหมายไว้ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของกิจการแต่ละแห่งแล้วแต่จะแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะโครงสร้างในการผลิต การบริหารขนาดขององค์กร นโยบายธุรกิจและภาระภาษีและข้อจำกัดด้านรัฐบาลและสถาบันการค้า และการเงินในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงมีผลกระทบต่อกำไรในการดำเนินงานแตกต่างกันไปในธุรกิจแต่ละแห่ง ดังนั้นเมื่อธุรกิจส่งออกต้องกำหนดราคาขายสินค้าตามสภาพการตลาดก็จำเป็นที่จะต้องวางแผนและควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารธุรกิจส่งออกประสบผลกำไรตามต้องการ

ประเภทที่ 2. การกำหนดราคาตามต้นทุน

การตั้งราคาตามกรณีนี้ จะต้องรวบรวมต้นทุนค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกดังได้กล่าวมาในข้อ 2 และ 3 แล้วนำไปรวมกับจำนวนกำไรที่ต้องการ เพื่อคำนวณหาราคาขายของสินค้าดังนี้

ราคาขายของสินค้า = ต้นทุนและค่าใช้จ่าย + กำไรที่ต้องการ
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย = ต้นทุนการผลิต + ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง + ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

ในการส่งออกสินค้า กิจการบางแห่งอาจจะพิจารณาเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ประกอบกับความเสี่ยงภัยอันเกิดจากความเสียหายและความไม่แน่นอนต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ราคาขายครอบคลุมความเสี่ยงภัยทุกประเภท อย่างไรก็ตามยิ่งกิจการประเมินค่าความเสียหายและความไม่แน่นอนสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้ราคาขายของสินค้าสูงเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นผลให้ไม่สามารถใช้ราคานั้นแข่งขันในตลาดได้ จึงต้องพิจารณาราคาขายของคู่แข่งขันอื่น ๆ และแนวโน้มในตลาดควบคู่กันไปด้วย ไม่ควรอย่างยิ่งที่กิจการจะกำหนดราคาขายโดยเน้นเฉพาะแต่ประการเดียว

เพื่อให้การกำหนดราคาขายจากต้นทุน ยืดหยุ่นตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงมีการกำหนดราคาขายจากต้นทุนได้หลายวิธีดังนี้

1. กำหนดราคาขายจากต้นทุนรวม (Full Cost Pricing)

ต้นทุนรวม หมายถึง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 2 แล้วนำต้นทุนรวมไปบวกกำไรที่ต้องการ เพื่อกำหนดราคาขาย กิจการอาจประมาณต้นทุนรวมจากต้นทุนจริง หรือจากต้นทุนมาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้าก็ได้ ดังนั้น ราคาตามตลาดตามกรณีนี้ก็คือ Standard ex factory (SEF) cost basic อย่างไรก็ตามการตั้งราคาแบบนี้อาจจะไม่เหมาะสม เพราะราคาขายดังกล่าวจะสูงเกินไปจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ นอกเสียจากว่าบริษัทเป็นผู้วางจำหน่ายสินค้าเป็นบริษัทแรกของตลาดแห่งนั้นหรือเป็นสินค้าที่ไม่มีคู่แข่งขัน

2. การกำหนดราคาขายจากต้นทุนรวมทั้งหมดยกเว้นส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายทางการตลาด หรือ
standard ex factory costs with no allocated marketing costs (SEFNAM)

เป็น allocated marketing costs (SEFNAM) เนื่องจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้นำเข้าเป็นผู้วางสินค้าในตลาด ณ ประเทศนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรวมค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและจำหน่ายสินค้าอีก จึงตั้งราคาขายจากรายการที่ต้นทุนการผลิตจากโรงงาน ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าใช้จ่ายบริหาร และค่าใช้จ่ายในการส่งออกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้านี้เท่านั้น

3. การกำหนดราคาขายจากต้นทุนส่วนเกิน (Marginal Costing หรือ MC)

ต้นทุนส่วนเกิน หมายถึง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายผันแปรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการส่งออกตัวสินค้านั้นไปยังมือผู้นำเข้า การตั้งราคาขายจากต้นทุนส่วนเกินจะไม่นำเอาต้นทุนคงที่มารวมด้วย เมื่อนำเฉพาะต้นทุนผันแปรไปรวมกับกำไรที่ต้องการ ก็จะทำให้ราคาขายดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายของสินค้าชนิดเดียวกับที่ขายอยู่ในประเทศและเป็นผลให้กิจการสามารถใช้ราคานั้นแข่งขันได้ในตลาด การใช้ต้นทุนส่วนเกินคำนวณต้นทุนสินค้า จะถือหลักที่ว่ากิจการผลิตสินค้าโดยปกติ (ภายในประเทศ) แล้วยังมีกำลังผลิตเหลือ จึงนำไปผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเท่านั้นเป็นการเพิ่มผลผลิตและประหยัดต้นทุนคงที่เท่านั้นเอง

ในการเลือกใช้ราคาขายใดจึงจะเหมาะสมนั้น ควรขึ้นกับสภาพแวดล้อมและราคาขายของสินค้าในตลาดที่ต้องการวางจำหน่าย ผู้ส่งออกจะต้องสืบราคาขายของสินค้าชนิดนั้นในท้องตลาดเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ราคาขายที่เสนอต่อลูกค้าสูงเกินไป นอกจากนี้ควรจะพิจารณารายละเอียดอื่น ๆ เช่นการให้ส่วนลดประเภทต่าง ๆ สกุลเงินที่ใช้ในการตกลงเงื่อนไขในการขนส่ง การชำระเงิน ภาระภาษี ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสี่ยงภัยและปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลังอันจะมีผลกระทบต่อกำไรของกิจการในที่สุด

No comments: