border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; border-bottom-color:#ffffff; padding-top:10px; padding-right:14px; padding-bottom:1px; padding-left:29px; } html>body .post-body { border-bottom-width:0; } .post p { margin:0 0 .75em; } .post-footer { background: #ffffff; margin:0; padding-top:2px; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px; font-size:100%; line-height:1.5em; color: #666666; } .post-footer p { margin: 0; } html>body .post-footer { border-bottom-color:transparent; } .uncustomized-post-template .post-footer { text-align: right; } .uncustomized-post-template .post-author, .uncustomized-post-template .post-timestamp { display: block; float: left; text-align:left; margin-right: 4px; } .post-footer a { color: #456; } .post-footer a:hover { color: #234; } a.comment-link { /* IE5.0/Win doesn't apply padding to inline elements, so we hide these two declarations from it */ background/* */:/**/url("http://www.blogblog.com/rounders/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } html>body a.comment-link { /* Respecified, for IE5/Mac's benefit */ background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } .post img { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:5px; margin-left:0; padding:4px; border:1px solid #bbbbbb; } blockquote { margin:.75em 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px 0; padding:5px 15px; color: #558866; } .post blockquote p { margin:.5em 0; } #blog-pager-newer-link { float: left; margin-left: 13px; } #blog-pager-older-link { float: right; margin-right: 13px; } #blog-pager { text-align: center; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; margin-left: 13px; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments { margin:-25px 13px 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; padding-top:20px; padding-right:0; padding-bottom:15px; padding-left:0; } #comments h4 { margin:0 0 10px; padding-top:0; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; font-size:120%; line-height:1.4em; color:#0066CC; } #comments-block { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:0; margin-left:9px; } .comment-author { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat 2px .3em; margin:.5em 0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; font-weight:bold; } .comment-body { margin:0 0 1.25em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; } .comment-body p { margin:0 0 .5em; } .comment-footer { margin:0 0 .5em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:.75em; padding-left:20px; } .comment-footer a:link { color: #333; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 5px; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; border: 4px solid #0066CC; } .profile-datablock { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding-top:8px; } .profile-link { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_profile.gif") no-repeat left .1em; padding-left:15px; font-weight:bold; } .profile-textblock { clear: both; margin: 0; } .sidebar .clear, .main .widget .clear { clear: both; } #sidebartop-wrap { background:#ffffff url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_bot.gif") no-repeat left bottom; margin:0px 0px 15px; padding:0px 0px 10px; color:#0066CC; } #sidebartop-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_top.gif") no-repeat left top; padding: 10px 0 0; margin:0; border-width:0; } #sidebartop h2 { line-height:1.5em; color:#0066CC; border-bottom: 1px dotted #0066CC; font: normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; margin-bottom: 0.5em; } #sidebartop a { color: #3D81EE; } #sidebartop a:hover { color: #99C9FF; } #sidebartop a:visited { color: #99C9FF; } #sidebar a { color: #ffffff; } #sidebar a:hover, #sidebar a:visited { color: #ffffff; } /* Sidebar Boxes ----------------------------------------------- */ .sidebar .widget { margin:.5em 13px 1.25em; padding:0 0px; } .widget-content { margin-top: 0.5em; } #sidebarbottom-wrap1 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_top.gif") no-repeat left top; margin:0 0 15px; padding:10px 0 0; color: #C3D9FF; } #sidebarbottom-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:0 0 8px; } .sidebar h2 { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding:0 0 .2em; line-height:1.5em; font:normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; } .sidebar ul { list-style:none; margin:0 0 1.25em; padding:0; } .sidebar ul li { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_arrow_sm.gif") no-repeat 2px .25em; margin:0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:3px; padding-left:16px; margin-bottom:3px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; line-height:1.4em; } .sidebar p { margin:0 0 .6em; } #sidebar h2 { color: #ffffff; border-bottom: 1px dotted #ffffff; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer-wrap1 { clear:both; margin:0 0 10px; padding:15px 0 0; } #footer-wrap2 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_top.gif") no-repeat left top; color:#C3D9FF; } #footer { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:8px 15px; } #footer hr {display:none;} #footer p {margin:0;} #footer a {color:#C3D9FF;} #footer .widget-content { margin:0; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #main-wrap1, body#layout #sidebar-wrap, body#layout #header-wrapper { margin-top: 0; } body#layout #header, body#layout #header-wrapper, body#layout #outer-wrapper { margin-left:0, margin-right: 0; padding: 0; } body#layout #outer-wrapper { width: 730px; } body#layout #footer-wrap1 { padding-top: 0; } } #navbar { display:none; } -->
แหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งออก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานแสดงสินค้า
หากมีข้อสงสัยที่ท่านต้องการทราบเป็นพิเศษ โปรดแจ้งที่ kawi2517@gmail.com
เรายินดีค้นหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้กับท่านค่ะ
 

1/03/2009

ข่าวฝึกอบรม

ศูนย์ฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดอบรมหลักสูตร
การสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา" ซึ่งประกอบด้วย 2 หลักสูตรย่อย คือ
หลักสูตรสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตร (Patent Search)
และหลักสูตรสืบค้นข้อมูลสารระบบเครื่องหมายการค้า (Trademark Search)
ผู้สนใจสามารถสมัครได้โดยทำการเลือกหลักสูตรและวันที่ที่ต้องการเข้ารับการอบรมตามเอกสารแนบ
และแจ้งมาทาง E-mail: iptraining@moc.go.th
หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 02-547-4664 และ 02-547-4314 (ในเวลาราชการ)
------------------------------------
โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)
โดยหน่วยร่วมดำเนินงาน : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
อบรมหลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่" NEC รุ่นที่ 1-6 ประจำปี 2552
เปิดรับสมัครผู้เข้าอบรม รุ่นที่ 2 ตั้งแต่บัดนี้ - วันที่ 30 มกราคม 2552
เรียนฟรี... ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2564-3002-9 ต่อ 3171,08-4013-9910 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

11/08/2008

สถาบันการเงินหลักที่ให้บริการด้านสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงินหลักที่ให้บริการด้านสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก มีดังนี้ คือ

ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการด้านเงินฝาก และด้านสินเชื่อประเภทต่างๆ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการส่งออก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2536 โดยมีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการทางการเงิน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักธุรกิจไทยในตลาดการค้าของโลก ทั้งบริการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกโดยตรง บริการที่รองรับการนำเข้าและการลงทุนในส่วนที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศอันจะส่งผลต่อการขยายฐานการค้าของประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีสถาบันการเงินอื่นที่ให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นบริการเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของตนที่ประกอบธุรกิจส่งออกด้วย เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม เป็นต้น

ลักษณะของสินเชื่อเพื่อการส่งออก

สินเชื่อเพื่อการส่งออกสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สินเชื่อก่อนการส่งออก (Pre-Export Financing หรือ Pre-Shipment Financing)
2. สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Export Financing หรือ Post-Shipment Financing)

สินเชื่อก่อนการส่งออก เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการมีความจำเป็น หรือต้องการเงินทุนหมุนเวียน ภายหลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อแล้ว แต่ขาดเงินทุนในการที่จะนำไปซื้อวัตถุดิบ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก หรือ เพื่อนำไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกต่อไปยังต่างประเทศ โดยผู้ส่งออกสามารถนำเอกสาร อันได้แก่ ใบรับจำนำสินค้า/ใบประทวนสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับสินค้าด้านการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น หรือใบสั่งซื้อ (Purchase Order) หรือสัญญาซื้อขาย (Contract) หรือเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) มาเป็นเอกสารประกอบในการขอสินเชื่อดังกล่าว ซึ่งเรียกว่าสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิต ได้ทั้งจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

1.1 สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้จากธนาคารพาณิชย์ หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ส่งออกสินค้าทุกชนิด เช่น สินค้าเกษตร หรือสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยธนาคารและผู้ประกอบการจะเป็นผู้ร่วมกันกำหนดขนาดของวงเงินที่เหมาะสม และอายุสูงสุดของตั๋วเงินที่จะเบิกเงินกู้แต่ละครั้งไว้ตั้งแต่แรก อายุสูงสุดไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ จำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้งเบิกได้ร้อยละ 80 ของมูลค่าใน L/C หรือร้อยละ 70 ของสัญญาซื้อขาย หรือ คำสั่งซื้อ หรือร้อยละ 60 ของมูลค่าตามใบรับจำนำสินค้า หรือใบประทวนสินค้า อัตราส่วนอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาและความเหมาะสม โดยอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจะคิดจากผู้ประกอบการนั้น จะเป็นไปตามสภาวะของตลาดการเงิน โดยสินเชื่อประเภทนี้ผู้ประกอบการสามารถขอกู้ได้ทั้งในรูปของสกุลเงินบาท และสกุลเงินต่างประเทศ กรณีสกุลเงินต่างประเทศแต่ละธนาคารจะเป็นผู้กำหนดการขอใช้วงเงิน

หลังจากที่ธนาคาร ได้อนุมัติวงเงินและจัดทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว เมื่อผู้ส่งออกได้รับ L/C หรือสัญญาซื้อขาย หรือ คำสั่งซื้อ ผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารเหล่านี้มาใช้ประกอบการเบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าว
ในการเบิกเงินกู้แต่ละครั้ง ผู้ส่งออกจะต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เป็นสกุลเงินบาท ให้ไว้กับธนาคารเป็นจำนวนตามอัตราส่วนของมูลค่าใน L/C หรือสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ ระยะเวลาชำระหนี้สูงสุดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับจะเท่ากับ วันหมดอายุของเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือ L/C ในกรณีผู้ส่งออกขอสินเชื่อ โดยใช้เลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเอกสารประกอบในการขอกู้ หรือเท่ากับวันสุดท้ายของการส่งมอบสินค้าบวก 10 วัน ในกรณีผู้ส่งออกขอสินเชื่อโดยใช้สัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ เป็นเอกสารประกอบในการขอกู้ โดยระยะเวลาชำระหนี้สูงสุดจะไม่เกิน 180 วัน เมื่อผู้ส่งออก ได้ทำการส่งสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องจัดทำ จัดหาเอกสารการส่งออกเพื่อส่งให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยผ่านธนาคารที่ได้ให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออก นอกจากนี้ ผู้ส่งออกยังสามารถร้องขอให้ธนาคารนั้นรับซื้อเอกสารการส่งออก และนำเงินบาทที่ได้จากการขายเอกสารส่งออกมาชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และเงินส่วนที่เหลือเป็นของผู้ส่งออก วงเงินที่ผู้ส่งออกได้รับจากธนาคาร เป็นวงเงินหมุนเวียน หรือ Revolving Line of Credit ซึ่งหลังจากชำระเงินกู้ที่คงค้างอยู่แล้ว วงเงินนี้สามารถใช้รองรับการให้กู้ตามเอกสารการสั่งซื้อรายต่อๆไปได้

1.2 สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นสินเชื่อที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้เงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนแก่ผู้ส่งออก หรือผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกผ่านธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเงินไปใช้หมุนเวียน
วัตถุประสงค์ของสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิต เพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการ โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้กู้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นเงินบาทในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยรวมกับเงินของธนาคารพาณิชย์ส่วนหนึ่ง และให้กู้ต่อแก่ผู้ส่งออก ในอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาดการเงิน อายุสูงสุดของตั๋วเงินที่ผู้ประกอบการสามารถขอกู้ได้คือ ไม่เกิน 180 วัน และจำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้งจะเบิกได้ร้อยละ 80 ของมูลค่าใน L/C หรือร้อยละ 70 ของสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ หรือร้อยละ 60 ของมูลค่าตามใบรับจำนำสินค้า หรือใบประทวนสินค้า โดยอัตราส่วนนี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม


การใช้วงเงิน ก. ผู้ประกอบการต้องติดต่อขอวงเงินแพ็คกิ้งเครดิต ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารพาณิชย์ เป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินและรายละเอียดของวงเงิน
ข. ผู้ประกอบการต้องขออนุมัติเป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้ตามระเบียบที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยกำหนด โดยส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ผ่านธนาคารพาณิชย์
รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ส่งออก/ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับล่าสุด
สำเนาหนังสือรับรองตราสำคัญของบริษัท
สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) (ถ้ามี)
สำเนาบัตรส่งเสริมการลงทุน (ถ้ามี)

ค. ภายหลังจากที่ได้รับอนุมัติเรื่องวงเงินจากธนาคารพาณิชย์ และได้รับอนุมัติเป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้ประกอบการ สามารถนำเอกสารประกอบ อันได้แก่ เลตเตอร์ออฟเครดิต หรือสัญญาซื้อขาย หรือคำสั่งซื้อ หรือใบรับจำนำสินค้า หรือใบประทวนสินค้ามาใช้ประกอบการเบิกเงินกู้ พร้อมทั้งออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ P/N ให้ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารพาณิชย์ก็จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อขอกู้เงินส่วนหนึ่งจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตามสัดส่วนที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

ง. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จะจ่ายเงินให้ธนาคารพาณิชย์เป็นมูลค่าตามใน P/N ของธนาคารพาณิชย์ และรวมกับเงินอีกส่วนของธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปจัดซื้อ จัดหาสินค้าเพื่อเตรียมการส่งออก

จ. ภายหลังจากผู้ประกอบการได้รับเงินกู้แล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

ต้องส่งรายงานการใช้จ่ายเงิน หรือ Stock List ภายใน 30 วัน นับจากวันกู้ให้แก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ ระบุรายละเอียดการใช้จ่ายเงินตามที่ได้ขอกู้ไปตามความเป็นจริง จำนวนเงินใช้จ่ายที่ระบุในรายงานการใช้จ่ายเงินต้องไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่ขอกู้ ในกรณีนี้ หากผู้ประกอบการไม่จัดส่งรายงานการใช้จ่ายเงินภายใน 30 วันนับจากวันกู้ ณ วันที่ 31 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะเรียกต้นเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย และคิดเบี้ยปรับทันที
ต้องดำรงไว้ หรือสามารถให้ธนาคารตรวจสอบได้ถึงปริมาณสินค้า หรือวัตถุดิบที่ได้จากการนำเงินกู้ไปจัดซื้อ และผู้ประกอบการต้องมีการจัดทำทะเบียน หรือบัญชีคุมยอดสินค้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารตรวจสอบ ต้องจัดให้มีการส่งสินค้าออก และให้ได้เงินตราต่างประเทศกลับเข้ามายังประเทศไทย ภายใน 60 วัน นับจากวันที่เงินกู้ครบกำหนด กรณีการขอผ่อนผันของผู้ประกอบการ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและดุลยพินิจของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการปฏิบัติผิดระเบียบ ตามหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดในข้อใดข้อหนึ่งแล้ว จะต้องเสียค่าปรับในอัตราร้อยละต่อปีตามที่ได้กำหนดไว้ในขณะนั้นๆ ให้แก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ฉ. ภายหลังจากผู้ส่งออก ส่งสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเอกสารส่งออกมาขายกับธนาคารพาณิชย์ และหากธนาคารพาณิชย์รับซื้อเอกสารส่งออกแล้ว จะนำเงินที่ได้มาชำระหนี้แพ็คกิ้งเครดิต จำนวนเงินส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้ผู้ส่งออก


ช. จากนั้น ธนาคารพาณิชย์จะชำระคืนเงินกู้ที่เกี่ยวกับการส่งออกรายการนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการใช้วงเงิน


1.3 สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรงจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการจะติดต่อขออนุมัติวงเงินสินเชื่อ และขออนุมัติเป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยโดยตรง โดยผู้ประกอบการจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาดการเงิน ซึ่งถูกกำหนดเพดานสูงสุดไว้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในอัตราเดียวกับกรณีการขอกู้แพ็คกิ้งเครดิตจากธนาคารพาณิชย์ ร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ ยังต้องมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ หรือข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อกำหนดของสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตที่กู้จากธนาคารพาณิชย์ ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยด้วย

สรุปข้อแตกต่างระหว่างแพ็คกิ้งเครดิตทั้ง 3 รูปแบบ

สินเชื่อ P/C แบบกู้จากธนาคารพาณิชย์ หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก
สินเชื่อ P/C จากธนาคารพาณิชย์ ร่วมกับ ธสน.
สินเชื่อ P/C แบบกู้ตรง จาก ธสน.
แหล่งเงินทุนเป็นของธนาคารพาณิชย์ หรือ ธสน. เอง
แหล่งเงินทุนเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยผ่าน ธสน. และของธนาคารพาณิชย์อีกส่วนหนึ่ง
แหล่งเงินทุนเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่ง เป็นของ ธสน.
ยื่นขอที่ธนาคารพาณิชย์ หรือ ธสน.
ยื่นขอโดยตรงกับธนาคารพาณิชย์
ยื่นขอโดยตรงกับ ธสน.
ไม่ต้องมีการขออนุมัติเป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้
ต้องมีการขออนุมัติเป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้ต่อ ธสน. โดยผ่านธนาคารพาณิชย์

3. ต้องมีการขออนุมัติเป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้จาก ธสน. โดยตรง
สินเชื่อ P/C แบบกู้จากธนาคารพาณิชย์ หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก
สินเชื่อ P/C จากธนาคารพาณิชย์ ร่วมกับ ธสน.
สินเชื่อ P/C แบบกู้ตรง จาก ธสน.

4. อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามสภาวะของตลาดการเงิน และกำหนดโดยแต่ละธนาคาร
อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสภาวะของตลาดการเงิน และกำหนดเพดานสูงสุด โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสภาวะของตลาดการเงิน และกำหนดเพดานสูงสุด โดยธนาคารแห่งประเทศไทย

5. ไม่มีกำหนดให้จัดส่งรายงานการใช้จ่ายเงิน (STOCK LIST)

6. ไม่ต้องมีการตรวจดู สินค้าทะเบียน หรือ บัญชีคุมยอดสินค้า
ต้องมีการตรวจดูสินค้า ทะเบียนหรือบัญชีคุมยอดสินค้า

7. ไม่มีการคิดเบี้ยปรับ
มีการคิดเบี้ยปรับ ในกรณีปฏิบัติ ผิดระเบียบ

2. สินเชื่อหลังการส่งออก (Post-Export Financing หรือ Post-Shipment Financing) เป็นสินเชื่อเพื่อการส่งออกอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่อผู้ส่งออก เพราะผู้ประกอบธุรกิจการส่งออก มักจะมีคู่ค้าอยู่หลายราย และมีคำสั่งซื้อที่รอการส่งออกอยู่อีกจำนวนหนึ่ง หรือสินค้างวดที่ส่งออกไปเรียบร้อยแล้วนั้น เป็นการขายแบบให้เครดิตการชำระเงินแก่ผู้ซื้อ เนื่องจากภาวะการแข่งขันทางการค้า หรือมีความจำเป็นที่ต้องการใช้เงินเพื่อกิจการภายในของบริษัท ทำให้ไม่สามารถที่จะรอให้ผู้ซื้อต่างประเทศชำระเงินตามเอกสารส่งออกได้

ด้วยเหตุนี้ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จึงมีบริการสินเชื่อหลังการส่งออก ซึ่งเรียกว่า "บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก" ไว้ให้บริการแก่ผู้ส่งออก เพื่อผู้ส่งออกสามารถนำเงินไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจได้เร็วขึ้น หลังจากที่มีการจัดส่งสินค้าลงเรือถูกต้องตามเงื่อนไขแล้ว โดยประเภทของตั๋วสินค้าออก อาจเป็นประเภทตั๋วสินค้าออกที่มี L/C และไม่มี L/C และประเภทที่มีกำหนดชำระเงินทันที (Sight Bill) หรือที่มีกำหนดเวลาชำระเงิน (Usance Bill) ไม่เกิน 180 วัน

ปกติธนาคารจะรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออกเต็มจำนวนของมูลค่าสินค้า โดยคิดเป็นดอกเบี้ยกรณีตั๋วสินค้าออกเป็น Sight Bill และคิดเป็นอัตราส่วนลดกรณีตั๋วสินค้าออกเป็น Usance Bill ตามอัตราที่แต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด

การให้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก

ผู้ส่งออกสามารถใช้บริการได้ในลักษณะ ดังนี้
ใช้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออก ต่อเนื่องจากสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิต หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกได้ทันที โดยหลังจากที่ผู้ส่งออก ส่งสินค้าลงเรือ และจัดทำ จัดหาเอกสารการส่งออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออกสามารถนำเอกสารการส่งออกมาขายต่อธนาคารที่ผู้ส่งออกมีภาระหนี้สินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิต เพื่อนำเงินจากการขายตั๋วสินค้าออกชำระหนี้แพ็คกิ้งเครดิต และจำนวนเงินที่เหลือเข้าบัญชีให้ผู้ส่งออก จากนั้น ธนาคารก็จะส่งเอกสารการส่งออกไปเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อ และเมื่อได้รับการจ่ายเงินเข้ามายังธนาคาร ธนาคารก็จะทำการตัดภาระกับมูลค่าที่ธนาคารรับซื้อตั๋วสินค้าออกไว้พร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี)

กรณีผู้ส่งออก ไม่ได้ใช้บริการต่อเนื่องจากสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิต หรือสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก แต่ต้องการใช้บริการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคารผู้ส่งออก สามารถนำตั๋วสินค้าออกมาขายกับธนาคารได้เช่นเดียวกัน โดย

กรณีตั๋วสินค้าออกที่มี L/C ผู้ส่งออกสามารถนำตั๋วมาขาย หรือขายลดต่อธนาคารได้ทันที โดยมีปัจจัยด้านความเสี่ยงที่ธนาคารใช้พิจารณาในการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออก ดังนี้
Country Risk ความเสี่ยงจากประเทศผู้เปิด L/C โดยพิจารณาจาก ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคม และการเมือง

Bank Risk ความเสี่ยงจากธนาคารผู้เปิด L/C โดยพิจารณาจากฐานะการ เงิน ผลการดำเนินงาน ผู้บริหารธนาคารและอื่นๆ

Documentary Risk ความเสี่ยงจากเอกสารการส่งออก โดยพิจารณาว่า เอกสารการส่งออกมีความผิดพลาด หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ L/C

Exporter Risk ความเสี่ยงจากผู้ส่งออก โดยพิจารณาฐานะของบริษัท ผลการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร เครดิตด้านการเงิน ความสัมพันธ์ หรือการติดต่อด้านธุรกิจกับธนาคาร และอื่นๆ
โดยปัจจัยข้างต้นนี้ หากธนาคารพิจารณาแล้วเห็นว่าพอยอมรับความเสี่ยงได้ธนาคารก็จะรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากผู้ส่งออกได้ โดยไม่ต้องมีการติดต่อขอวงเงินการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคาร

สำหรับกรณีตั๋วสินค้าออกที่เป็นประเภทส่งเอกสารไปเรียกเก็บโดยไม่มี L/C เช่น D/P หรือ D/A หากผู้ส่งออกต้องการให้ธนาคารรับซื้อตั๋วสินค้าออก ผู้ส่งออกต้องติดต่อขอวงเงินการรับซื้อตั๋วสินค้าออกจากธนาคารให้เรียบร้อยก่อน ธนาคารจึงจะพิจารณาการรับซื้อตั๋วสินค้าออกนั้นๆ นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่ออีก

ประเภทหนึ่งที่ให้ธนาคารให้บริการแก่ผู้ส่งออก นั่นก็คือ

บริการการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Bought) เป็นบริการที่ผู้ส่งออกประสงค์จะให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากผู้ส่งออก โดยตกลงอัตราแลกเปลี่ยนกันก่อน แต่การส่งมอบเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนการชำระเงินจะกระทำกันในเวลาหนึ่งเวลาใดในอนาคตตามแต่ข้อตกลงในสัญญา

โดยทั่วไป ธนาคารจะให้บริการการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในรูปของการให้สินเชื่อ ซึ่งการรับซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารนี้ ธนาคารจะกระทำตามคำร้องขอของผู้ส่งออก ซึ่งผู้ส่งออกอาจจะร้องขอให้ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศ ก่อนที่จะมีการส่งสินค้าออก หรือหลังจากที่มีการส่งสินค้าออกไปแล้ว แต่รอการจ่ายเงินอยู่ก็ได้

โดยปกติ ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนประจำวันด้านธนาคารรับซื้อ หรือ Buying Rate เป็นอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง โดยอาจจะมีส่วนบวกเพิ่ม ที่เรียกว่า Premium บวกเข้ากับอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง หรืออาจจะมีส่วนลดที่เรียกว่า Discount หักออกจากอัตรา แลกเปลี่ยนอ้างอิงได้

ประเภทของสินเชื่อ

สินเชื่อมีหลายประเภทซึ่งการศึกษาการแบ่งประเภทของสินเชื่อแบบต่าง ๆ ทำให้เราทราบว่ารูปแบบของการให้สินเชื่อนั้นสามารถกระทำได้ในรูปแบบใดได้บ้าง ดังสรุปประเภทของสินเชื่อในตารางที่ 1.1


ระยะเวลา วัตถุประสงค์ ผู้ขอรับสินเชื่อ ผู้ให้สินเชื่อ หลักประกัน

1.ระยะสั้น

เพื่อการบริโภค
สำหรับบุคคล บุคคลเป็นผู้ให้ ไม่มีหลักประกัน

2.ระยะกลาง
เพื่อการลงทุน
สำหรับธุรกิจ สถาบันการเงินเป็นผู้ให้ มีหลักประกัน

3.ระยะยาว
เพื่อการพาณิชย ์
สำหรับรัฐบาล หน่วยงานอื่น ๆ เป็นผู้ให้

1. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามระยะเวลา

1.1 สินเชื่อระยะสั้น คือ สินเชื่อที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อการค้า เครื่องมือสินเชื่อประเภทนี้ เช่น ตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills) และตราสารพาณิชย์ (Commercial Papers) เป็นต้น

1.2 สินเชื่อระยะกลาง คือ สินเชื่อที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี เช่น การผ่อนส่งการซื้อสินค้าคงทน เป็นต้น

1.3 สินเชื่อระยะยาว คือ สินเชื่อที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินจำนวนมาก หรือเป็นการบริโภคสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงมากเช่น บ้านและที่ดิน เป็นต้น

2. การแบ่งประเภทของสินเชื่อตามวัตถุประสงค์

2.1 สินเชื่อเพื่อการบริโภค หมายถึง สินเชื่อที่ให้กับบุคคล เพื่อประโยชน์ในการนำมาบริโภค สินเชื่อประเภทนี้อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบเช่น การเปิดบัญชีไว้กับร้านอาหาร เมื่อถึงสิ้นเดือนจึงชำระครั้งเดียว การผ่อนส่งจากการซื้อสินค้าโดยเฉพาะสินค้าคงทน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ รถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้สินเชื่อจากบัตรเครดิตก็เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคเช่นกัน

2.2 สินเชื่อเพื่อการลงทุน อาจเป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิตหรือสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินการผลิตไม่ว่าจะเป็นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ สินเชื่อประเภทนี้มักเป็นสินเชื่อระยะยาวอาจอยู่ในรูปของการออกหุ้นกู้ หรือสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

2.3 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์หรือสินเชื่อการค้า โดยทั่วไปเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายสินค้าประเภทวัตถุดิบ หรือการซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อ เป็นการรับสินค้ามาก่อน แล้วค่อยชำระค่าสินค้าภายหลังโดยทั่วไปจะเป็นสินเชื่อระยะสั้น เช่น 30-60 วัน เป็นสินเชื่อที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การทำธุรกิจ ทั้งนี้รวมไปถึงการออก Letter of Credit เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงในการชำระค่าสินค้าจากการซื้อขายระหว่างประเทศด้วย

3. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ขอรับสินเชื่อ

3.1 สินเชื่อสำหรับบุคคล มักเป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
3.2 สินเชื่อสำหรับธุรกิจ เป็นสินเชื่อสำหรับกิจการห้างร้านไม่ว่าจะนำไปใช้เพื่อลงทุนเพื่อการผลิตหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

3.3 สินเชื่อสำหรับรัฐบาล ในยามที่รัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอแก่รายจ่ายหน่วยงานภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงินซึ่งอาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบต่าง ๆ เช่น พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น

4. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ให้สินเชื่อ

4.1 บุคคลเป็นผู้ให้ เช่น การให้กู้ยืมในหมู่คนรู้จัก ญาติพี่น้อง หรือการปล่อยกู้นอกระบบ เป็นต้น
4.2 สถาบันการเงินเป็นผู้ให้ ซึ่งสถาบันการเงินก็มีหลายประเภทและอาจตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เงื่อนไขและประเภทของวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อก็อาจแตกต่างกันไป สถาบันการเงินเหล่านี้ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามและสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น
4.3 หน่วยงานอื่น ๆ เป็นผู้ให้ เช่น มูลนิธิ องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หน่วยงานการกุศล และกองทุนต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

5. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามหลักประกัน
5.1 สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน สินเชื่อประเภทนี้อาศัยความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นเครื่องพิจารณาการให้สินเชื่อ สินเชื่อประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงเพราะไม่มีหลักประกันให้แก่ผู้ให้กู้ในกรณีที่เกิดการผิดสัญญาขึ้น
5.2 สินเชื่อที่มีหลักประกัน สินเชื่อประเภทนี้มีความเสียงต่ำกว่าเนื่องจากผู้กู้มีหลักประกันแก่ผู้ให้กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายหากเกิดการผิดสัญญาขึ้น โดยหลักประกันดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ เช่น การจำนองที่ดิน สังหาริมทรัพย์ เช่น พันธบัตร ทองคำ หรืออยู่ในรูปของการค้ำประกันจากบุคคลหรือสถาบันการเงิน (อาวัล) ก็ได้

10/22/2008

งานแสดงสินค้า : Macef Autumn 2008

Macef Autumn 2008
International Home Show : 5-8 กันยายน 2551


ข้อมูลทั่วไป


งานฯ MACEF AUTUMN ที่ผ่านมา นับเป็นการจัดงานฯ ครั้งที่ 85 เป็นงานแสดงสินค้าของขวัญ ของแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี จัดใน 14 อาคารรวมพื้นที่แสดงประมาณ 100,000 ตารางเมตร มีผู้เข้าร่วมแสดง ในงานฯในครั้งนี้รวม 1,873 ราย (ร้อยละ 27 มาจากต่างประเทศ) ผู้เข้าชมงานฯ จำนวน 75,400 ราย โดยเกือบครึ่ง หนึ่งมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น อินเดีย อเมริกา กลาง/ใต้ ยุโรป ตะวันออก จีน ซึ่งส่วนใหญ่มาเป็นครั้งแรกและมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนร้อยละ 10 ในขณะที่ผู้เข้าชมชาว อิตาเลียนส่วนใหญ่เคยมาหรือมาเยี่ยมชมเป็นประจำ


MACEF ครั้งนี้ได้เน้นการนำเสนอตามแนวโน้มความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ได้แก่ การนำ เสนอสินค้าสร้างสรรใหม่ๆที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของแหล่งที่มา และการสนับสนุนให้มีการออกแบบ PROTOTYPES สำหรับสินค้าในฤดูกาลหน้า เป็นต้น



คูหาประชาสัมพันธ์ของกรมฯ


ปีนี้ สำนักงานฯ มิลาน ได้พื้นที่คูหาประชาสัมพันธ์ในอาคาร 5 จำนวน 8 ตารางเมตร เพื่อแลก เปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ แนะนำประเทศไทยและงานแสดงสินค้าในประเทศไทย รวมทั้งเชิญชวนให้นักธุรกิจ และผู้สนใจเดินทางเข้าเยี่ยมชมงานฯ BIG&BIH2008 ทั้งนี้ มีจำนวนนักธุรกิจให้ความสนใจสอบถามเป็นที่น่า พอใจ จากการสอบถามพบว่ามีนักธุรกิจที่นำเข้าสินค้าไทยแล้วจำนวน 15 รายและบางส่วนให้ความสนใจจะเข้า เยี่ยมชมงานฯ
BIG&BIH2008 ในปีนี้ ทั้งนี้ บางรายมีความลังเล และต้องการชะลอการลงทุนกับประเทศไทย สืบเนื่องจากข่าวความวุ่นวายภายในประเทศ ผู้นำเข้าบางรายต้องการติดต่อกับผู้ส่งออกไทยโดยตรงโดยไม่ ผ่านสำนักงานฯ เป็นต้น



ความคิดเห็นเกี่ยวกับงานฯ


งานฯ MACEF เดือนกันยายนที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนรวมผู้เข้าชมงานฯ ลดลง แม้ว่าจะมีสัญญาณการชะลอตัวตั้งแต่งานฯ ครั้งที่ 84 ก็ตาม ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจทั่ว โลก บรรยากาศของงานฯโดยรวมไม่คึกคักเหมือนปีที่ผ่านมา สำหรับสินค้าที่ยังสามารถทำตลาดได้ แบ่งเป็น สินค้าระดับกลางราคาถูกสำหรับคนส่วนใหญ่ และสินค้าระดับสูงไฮเอ็นที่มีตลาดเฉพาะอยู่แล้ว แต่ก็ยังคงเน้น สินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์และความแปลกใหม่สูง



สำหรับงานฯ ครั้งที่ 86 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 มกราคม 2552 จะเป็นสินค้าที่สำหรับฤดู ใบไม้ผลิและฤดูร้อน



ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลานตุลาคม 2551