border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; border-bottom-color:#ffffff; padding-top:10px; padding-right:14px; padding-bottom:1px; padding-left:29px; } html>body .post-body { border-bottom-width:0; } .post p { margin:0 0 .75em; } .post-footer { background: #ffffff; margin:0; padding-top:2px; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px; font-size:100%; line-height:1.5em; color: #666666; } .post-footer p { margin: 0; } html>body .post-footer { border-bottom-color:transparent; } .uncustomized-post-template .post-footer { text-align: right; } .uncustomized-post-template .post-author, .uncustomized-post-template .post-timestamp { display: block; float: left; text-align:left; margin-right: 4px; } .post-footer a { color: #456; } .post-footer a:hover { color: #234; } a.comment-link { /* IE5.0/Win doesn't apply padding to inline elements, so we hide these two declarations from it */ background/* */:/**/url("http://www.blogblog.com/rounders/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } html>body a.comment-link { /* Respecified, for IE5/Mac's benefit */ background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } .post img { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:5px; margin-left:0; padding:4px; border:1px solid #bbbbbb; } blockquote { margin:.75em 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px 0; padding:5px 15px; color: #558866; } .post blockquote p { margin:.5em 0; } #blog-pager-newer-link { float: left; margin-left: 13px; } #blog-pager-older-link { float: right; margin-right: 13px; } #blog-pager { text-align: center; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; margin-left: 13px; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments { margin:-25px 13px 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; padding-top:20px; padding-right:0; padding-bottom:15px; padding-left:0; } #comments h4 { margin:0 0 10px; padding-top:0; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; font-size:120%; line-height:1.4em; color:#0066CC; } #comments-block { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:0; margin-left:9px; } .comment-author { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat 2px .3em; margin:.5em 0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; font-weight:bold; } .comment-body { margin:0 0 1.25em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; } .comment-body p { margin:0 0 .5em; } .comment-footer { margin:0 0 .5em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:.75em; padding-left:20px; } .comment-footer a:link { color: #333; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 5px; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; border: 4px solid #0066CC; } .profile-datablock { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding-top:8px; } .profile-link { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_profile.gif") no-repeat left .1em; padding-left:15px; font-weight:bold; } .profile-textblock { clear: both; margin: 0; } .sidebar .clear, .main .widget .clear { clear: both; } #sidebartop-wrap { background:#ffffff url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_bot.gif") no-repeat left bottom; margin:0px 0px 15px; padding:0px 0px 10px; color:#0066CC; } #sidebartop-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_top.gif") no-repeat left top; padding: 10px 0 0; margin:0; border-width:0; } #sidebartop h2 { line-height:1.5em; color:#0066CC; border-bottom: 1px dotted #0066CC; font: normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; margin-bottom: 0.5em; } #sidebartop a { color: #3D81EE; } #sidebartop a:hover { color: #99C9FF; } #sidebartop a:visited { color: #99C9FF; } #sidebar a { color: #ffffff; } #sidebar a:hover, #sidebar a:visited { color: #ffffff; } /* Sidebar Boxes ----------------------------------------------- */ .sidebar .widget { margin:.5em 13px 1.25em; padding:0 0px; } .widget-content { margin-top: 0.5em; } #sidebarbottom-wrap1 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_top.gif") no-repeat left top; margin:0 0 15px; padding:10px 0 0; color: #C3D9FF; } #sidebarbottom-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:0 0 8px; } .sidebar h2 { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding:0 0 .2em; line-height:1.5em; font:normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; } .sidebar ul { list-style:none; margin:0 0 1.25em; padding:0; } .sidebar ul li { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_arrow_sm.gif") no-repeat 2px .25em; margin:0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:3px; padding-left:16px; margin-bottom:3px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; line-height:1.4em; } .sidebar p { margin:0 0 .6em; } #sidebar h2 { color: #ffffff; border-bottom: 1px dotted #ffffff; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer-wrap1 { clear:both; margin:0 0 10px; padding:15px 0 0; } #footer-wrap2 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_top.gif") no-repeat left top; color:#C3D9FF; } #footer { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:8px 15px; } #footer hr {display:none;} #footer p {margin:0;} #footer a {color:#C3D9FF;} #footer .widget-content { margin:0; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #main-wrap1, body#layout #sidebar-wrap, body#layout #header-wrapper { margin-top: 0; } body#layout #header, body#layout #header-wrapper, body#layout #outer-wrapper { margin-left:0, margin-right: 0; padding: 0; } body#layout #outer-wrapper { width: 730px; } body#layout #footer-wrap1 { padding-top: 0; } } #navbar { display:none; } -->
แหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งออก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานแสดงสินค้า
หากมีข้อสงสัยที่ท่านต้องการทราบเป็นพิเศษ โปรดแจ้งที่ kawi2517@gmail.com
เรายินดีค้นหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้กับท่านค่ะ
 

9/12/2008

การผ่านพิธีการทางศุลกากร

ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออก (ระบบ Manual)

1. การรับและออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออก
2. การตรวจสอบด้านพิธีการเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. การตรวจสอบการประเมินอากร
4. การประทับตราสมบูรณ์
5. การออกเลขยกเว้นอากร

ขั้นตอนที่ 1 การรับและออกเลขที่ใบขนสินค้าและการตรวจสอบบัตรลายเซ็น

เมื่อผู้ส่งของออกสำแดงรายการในใบขนสินค้าถูกต้องครบถ้วน พร้อมทั้งจัดเอกสารสัมพันธ์ครบถ้วน ผู้ส่งของออกจะต้องนำใบขนสินค้า และเอกสารที่เกี่ยวข้องมายื่นที่ ส่วนการส่งออก สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่กำหนดให้เป็นจุดผ่านพิธีการ

เจ้าหน้าที่รับใบขนสินค้า จะตรวจสอบใบขนสินค้า ที่ผู้ปฏิบัติพิธีการนำมายื่นดังนี้

· ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนและถูกต้องของใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ คือ ใบขนสินค้ามีลักษณะตรงตามที่กำหนดไว้ และกรอกข้อความครบถ้วน
· ตรวจสอบว่าผู้ที่ลงนามในใบขนสินค้า เป็นผู้มีอำนาจ หรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจและเลขประจำตัวผู้เสียภาษี โดยผู้ปฏิบัติพิธีการจะต้องนำบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้จัดการหรือผู้รับมอบอำนาจที่กรมศุลกากรออกให้มาประกอบการตรวจสอบทุกครั้ง
· เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะจดเลขที่บัตรลายมือชื่อดังกล่าวไว้ในใบขนสินค้า พร้อมทั้งลงนามและวัน เดือน ปี กำกับรับรองไว้ว่า “ได้ตรวจสอบบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีและบัตรลายมือชื่อถูกต้องแล้ว”
· ในกรณีที่มีใบแนบใบขนสินค้า ตามมาตรา 19 ทวิ ให้ประทับตรา ตรวจสอบบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีและบัตรลายมือชื่อในที่ว่างด้านล่างของใบแนบใบขนสินค้า พร้อมทั้งลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปี
· ในกรณีที่เป็นใบขนสินค้า ระดับพิเศษ ตรวจสอบบัตรผู้ส่งของออกระดับพิเศษที่กรมศุลกากรออกให้ พร้อมทั้งลงนามรับรองที่ตราประทับ “ผู้ส่งของออกระดับพิเศษเลขที่……..” ในใบขนสินค้า สินค้า
เมื่อเห็นว่าถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะออกเลขที่ใบขนสินค้า ให้เพื่อนำไปผ่านพิธีการในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบด้านพิธีการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของการสำแดงในใบขนสินค้า ให้ตรงตามเอกสารประกอบและใบอนุญาต เช่น
· ประเทศผู้ซื้อ, ประเทศปลายทาง
· น้ำหนัก, ปริมาณ, ชนิดของสินค้า
· เครื่องหมายการค้า, เลขหมายหีบห่อ, ลักษณะหีบห่อ
· ชื่อเรือ, วันเรือออก, ท่าที่ส่งออก
· ธ.ต. 1
· ใบอนุญาต (ถ้ามี)

เมื่อตรวจสอบรายละเอียดถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะประทับตราลงในบัญชีราคาสินค้าและด้านหลังของใบขน สินค้า ในช่อง “บันทึกการตรวจสอบพิธีการ” และแบบ กศก. 129 (กรณีใบขนสินค้า ชดเชยค่าภาษีอากร) พร้อมทั้ง ลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปี (กรณีที่มีใบต่อใบขนสินค้า ให้ประทับตราในใบต่อใบขนสินค้า แผ่นสุดท้าย)

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบการประเมินอากร

เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องดังนี้
1. ตรวจสอบประเภทพิกัดอัตราศุลกากร รหัสสถิติ รหัสหน่วย และอัตราอากรของชนิดสินค้านั้นๆ รวมทั้งการสำแดงประกาศต่างๆ กรณีมีการลดอัตราอากร
2. ตรวจสอบการสำแดงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การคำนวณราคาเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามที่กรมศุลกากร (อ้างอิงตามประกาศกระทรวงการคลัง)ประกาศในวันที่ออกใบขนสินค้าให้กรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก สำหรับกรณีต้องชำระอากรขาออกหรือวางประกันให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ชำระอากร
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบราคา โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ยื่นใบขนสินค้า ไปแล้ว หากในวันที่ผู้ส่งออกชำระอากรหรือวางประกัน อัตราแลกเปลี่ยนได้เปลี่ยนไป ผู้ส่งออกจะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และให้เจ้าหน้าที่ประทับตราสมบูรณ์ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินสำหรับใบขนสินค้า ฉบับนั้น ได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนถูกต้องแล้ว
3. ตรวจสอบราคาสินค้าจากบัญชีราคาสินค้า ว่ามีการสำแดงรายละเอียดครบถ้วน และราคา เอฟ.โอ.บี ตรงกับที่สำแดงไว้ในช่อง “ราคาของ (FOB)” ในใบขนสินค้า
เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้อง จะประทับตราพร้อมลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปี ในช่อง “บันทึกการประเมินอากร” ด้านหลังใบขนสินค้า และบัญชีราคาสินค้า (สำหรับใบขนสินค้า ผู้ส่งของออกระดับพิเศษไม่ต้องตรวจสอบตามรายละเอียดข้างต้น)
ในกรณีเป็นสินค้าต้องอากร เจ้าหน้าที่จะคำนวณค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ และบันทึกจำนวนเงินอากรที่ต้องชำระไว้ในช่อง “อากรขาออก” พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับ
4. เจ้าหน้าที่จะบันทึกการสั่งการตรวจ โดยตราประทับหรือเขียนลงในช่อง “สั่งการตรวจ” แล้วลงชื่อ วัน เดือน ปี กำกับ
ปัจจุบัน สินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกมี 2 ประเภท คือ ไม้ ไม้แปรรูป, หนังโคและหนังกระบือ

ขั้นตอนที่ 4 การประทับตราสมบูรณ์
เมื่อผ่านขั้นตอนทั้ง 3 แล้ว จะเป็นการประทับตราสมบูรณ์หรือการเซ็นรับรองใบขนสินค้า การประทับตราสมบูรณ์จะพิจารณาจากราคาเป็นเงินบาทที่สำแดงในใบขนสินค้า ดังนี้
1. กรณีใบขนสินค้า ยกเว้นอากร ไม่ขอชดเชยค่าภาษีอากร, ใบขนสินค้า 19 ทวิ ใบขนสินค้า ส่งเสริมการ ลงทุนฯ และใบขนสินค้า ชดเชยค่าภาษีอากรที่สำแดงราคาไม่เกิน 500,000 บาท เจ้าหน้าที่ประเมินอากรจะเป็นผู้ประทับตราสมบูรณ์ (พร้อมกับการพิจารณาในขั้นที่ 3)
2. กรณีใบขนสินค้า ขอชดเชยค่าภาษีอากรสำแดงราคาเกิน 500,000 บาท หัวหน้างานประเมินอากรจะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้อง และประทับตราสมบูรณ์
3. กรณีใบขนสินค้า ที่ต้องชำระค่าภาษีอากร เจ้าหน้าที่งานอากรจะเป็นผู้ประทับตราสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 5 การออกเลขยกเว้นอากร

เลขยกเว้นอากรมี 6 หลัก โดย 2 หลักแรกจะแยกประเภทของใบขนสินค้า ส่วน 4 หลักสุดท้าย จะเรียงตามลำดับที่ของใบขนสินค้า
เลข 01 หมายถึง ใบขนสินค้า ที่มีค่าภาษีอากร
10 หมายถึง ใบขนสินค้า ส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
11 หมายถึง ใบขนสินค้า ทั่วไป (จะรวมถึงใบขนสินค้าที่ไม่ชดเชยค่าภาษีอากร, ชดเชยค่าภาษีอากร ใบขนสินค้า 19 ทวิ, ใบขนสินค้า ส่งเสริมของสินค้าทั่วๆ ไป)
17 หมายถึง ใบขนสินค้า ข้าวเอกชน
18 หมายถึง ใบขนสินค้า ข้าวรัฐบาล
19 หมายถึง ใบขนสินค้า ยาง
เช่น ใบขนสินค้า ที่มีเลขยกเว้นอากร 11 2013 คือ ใบขนสินค้า ทั่วไป ที่ยื่นขอเลขยกเว้นอากรเป็นลำดับที่ 2013

ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออก (แบบ EDI)

เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ โดยใช้เครือข่ายสื่อสารผ่าน Value Added Network (VAN) มาใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากร สำหรับการนำสินค้าเข้าและนำสินค้าออก ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล การเดินทางมาติดต่อกับกรมศุลกากร เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและรวมถึงรองรับการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศ

ขั้นตอนที่ 1
เมื่อผู้ส่งออกจดทะเบียนเป็นผู้ใช้ EDI โดยตรงกับกรมศุลกากรและเลือกใช้บริษัทผู้ให้บริการ EDI (VAN) และผ่านการทดสอบการใช้แล้ว
- ผู้ส่งออกบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) และใบขนสินค้าเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองแล้วส่งข้อมูลที่บันทึกแล้ว ผ่านสายสื่อสารมาเข้าเครื่องของกรมศุลกากร
- เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรรับข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล และการคำนวณต่าง ๆ หลังตรวจสอบถูกต้อง เครื่องของกรมศุลกากรจะแจ้งเลขที่ใบขนสินค้า และเงื่อนไขการตรวจของ (Green Line, Red Line) ไปยังเครื่องของผู้ส่งออก เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า

ขั้นตอนที่ 2
- ผู้ส่งออกพิมพ์ใบขนสินค้า
- ชำระค่าภาษีอากร ณ ที่ทำการศุลกากร (ถ้ามี)
- ผู้ส่งออกนำใบขนสินค้าและเอกสารแนบไปยื่นที่ฝ่ายตรวจสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรม
ศุลกากรกำหนดชื่อนายตรวจ / สารวัตร โดยอัตโนมัติและตรวจปล่อย
- ตรวจสินค้าโดยวิธีการสุ่มตรวจ (ไม่ต้องตรวจทุก Shipment)

No comments: