border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; border-bottom-color:#ffffff; padding-top:10px; padding-right:14px; padding-bottom:1px; padding-left:29px; } html>body .post-body { border-bottom-width:0; } .post p { margin:0 0 .75em; } .post-footer { background: #ffffff; margin:0; padding-top:2px; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px; font-size:100%; line-height:1.5em; color: #666666; } .post-footer p { margin: 0; } html>body .post-footer { border-bottom-color:transparent; } .uncustomized-post-template .post-footer { text-align: right; } .uncustomized-post-template .post-author, .uncustomized-post-template .post-timestamp { display: block; float: left; text-align:left; margin-right: 4px; } .post-footer a { color: #456; } .post-footer a:hover { color: #234; } a.comment-link { /* IE5.0/Win doesn't apply padding to inline elements, so we hide these two declarations from it */ background/* */:/**/url("http://www.blogblog.com/rounders/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } html>body a.comment-link { /* Respecified, for IE5/Mac's benefit */ background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } .post img { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:5px; margin-left:0; padding:4px; border:1px solid #bbbbbb; } blockquote { margin:.75em 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px 0; padding:5px 15px; color: #558866; } .post blockquote p { margin:.5em 0; } #blog-pager-newer-link { float: left; margin-left: 13px; } #blog-pager-older-link { float: right; margin-right: 13px; } #blog-pager { text-align: center; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; margin-left: 13px; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments { margin:-25px 13px 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; padding-top:20px; padding-right:0; padding-bottom:15px; padding-left:0; } #comments h4 { margin:0 0 10px; padding-top:0; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; font-size:120%; line-height:1.4em; color:#0066CC; } #comments-block { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:0; margin-left:9px; } .comment-author { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat 2px .3em; margin:.5em 0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; font-weight:bold; } .comment-body { margin:0 0 1.25em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; } .comment-body p { margin:0 0 .5em; } .comment-footer { margin:0 0 .5em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:.75em; padding-left:20px; } .comment-footer a:link { color: #333; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 5px; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; border: 4px solid #0066CC; } .profile-datablock { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding-top:8px; } .profile-link { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_profile.gif") no-repeat left .1em; padding-left:15px; font-weight:bold; } .profile-textblock { clear: both; margin: 0; } .sidebar .clear, .main .widget .clear { clear: both; } #sidebartop-wrap { background:#ffffff url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_bot.gif") no-repeat left bottom; margin:0px 0px 15px; padding:0px 0px 10px; color:#0066CC; } #sidebartop-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_top.gif") no-repeat left top; padding: 10px 0 0; margin:0; border-width:0; } #sidebartop h2 { line-height:1.5em; color:#0066CC; border-bottom: 1px dotted #0066CC; font: normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; margin-bottom: 0.5em; } #sidebartop a { color: #3D81EE; } #sidebartop a:hover { color: #99C9FF; } #sidebartop a:visited { color: #99C9FF; } #sidebar a { color: #ffffff; } #sidebar a:hover, #sidebar a:visited { color: #ffffff; } /* Sidebar Boxes ----------------------------------------------- */ .sidebar .widget { margin:.5em 13px 1.25em; padding:0 0px; } .widget-content { margin-top: 0.5em; } #sidebarbottom-wrap1 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_top.gif") no-repeat left top; margin:0 0 15px; padding:10px 0 0; color: #C3D9FF; } #sidebarbottom-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:0 0 8px; } .sidebar h2 { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding:0 0 .2em; line-height:1.5em; font:normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; } .sidebar ul { list-style:none; margin:0 0 1.25em; padding:0; } .sidebar ul li { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_arrow_sm.gif") no-repeat 2px .25em; margin:0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:3px; padding-left:16px; margin-bottom:3px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; line-height:1.4em; } .sidebar p { margin:0 0 .6em; } #sidebar h2 { color: #ffffff; border-bottom: 1px dotted #ffffff; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer-wrap1 { clear:both; margin:0 0 10px; padding:15px 0 0; } #footer-wrap2 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_top.gif") no-repeat left top; color:#C3D9FF; } #footer { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:8px 15px; } #footer hr {display:none;} #footer p {margin:0;} #footer a {color:#C3D9FF;} #footer .widget-content { margin:0; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #main-wrap1, body#layout #sidebar-wrap, body#layout #header-wrapper { margin-top: 0; } body#layout #header, body#layout #header-wrapper, body#layout #outer-wrapper { margin-left:0, margin-right: 0; padding: 0; } body#layout #outer-wrapper { width: 730px; } body#layout #footer-wrap1 { padding-top: 0; } } #navbar { display:none; } -->
แหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งออก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานแสดงสินค้า
หากมีข้อสงสัยที่ท่านต้องการทราบเป็นพิเศษ โปรดแจ้งที่ kawi2517@gmail.com
เรายินดีค้นหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้กับท่านค่ะ
 

9/04/2008

การยื่นขอเอกสารประกอบการส่งออก

เอกสารที่ใช้ประกอบการส่งออกที่สำคัญมีดังนี้

- Certificate Of Origins (CO) (ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า)
- Form A
- Form D
- GSP

Certificate Of Origins (C/O) ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

เป็นใบรับรองที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในประเทศนั้น ๆ ว่าสินค้าตามที่ระบุมีกำเนิดหรือผ่านกระบวนการผลิตในประเทศของตน โดยส่วนใหญ่ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อขอลดภาษีนำเข้า เช่น ประเทศพัฒนาแล้วได้ตกลงลดภาษีนำเข้าแก่สินค้าที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา โดยจะต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนานั้น ๆ ว่า สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผ่านการผลิตในประเทศ กำลังพัฒนานั้นเป็นส่วนใหญ่ สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า คือ สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานให้บริการออกหนังสืออนุญาตและหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกสินค้าและหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า โดยมีลักษณะการให้บริการในระบบเบ็ดเสร็จครบวงจรในจุดเดียว (One – Stop Service)

วิธีปฏิบัติในการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form C/O ทั่วไป

1. การขอหนังสือรับรอง C/O ทั่วไป

- ผู้ส่งออกยื่นคำขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ C/O ทั่วไป พร้อมแบบฟอร์ม C/O ที่พิมพ์ข้อความครบถ้วน ถูกต้องต่อสำนักบริการการค้าต่างประเทศ

2. เอกสารประกอบการยื่นขอ Form C/O ทั่วไป

- ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice)
- ใบตราสั่งสินค้า (Bill of Lading – B/L) หรือใบรับส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) หรือเอกสาร แสดงการขนส่งสินค้าอื่น ๆ
หมายเหตุ
- สำเนาเอกสารให้ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตรารับรองความถูกต้อง

3. การพิมพ์ข้อความในหนังสือรับรอง Form C/O ทั่วไป

ช่อง Exporter
ระบุชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งจะต้องถูกต้องตรงกันกับเอกสารที่ยื่นประกอบ กรณีที่ ต้องระบุทั้งชื่อผู้ส่งออก และ ตามด้วย C/O (Care of) หรือ O/B (on behalf of) ชื่อที่อยู่ ประเทศของผู้ทำการแทน หรือผู้ยินยอม

ช่อง Consignee
ระบุชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้รับปลายทางหรือผู้ซื้อ

ช่อง Country of Destination of Goods
ระบุชื่อประเทศปลายทาง

ช่อง Date of Shipment และ Mode of Transport
ระบุวัน เดือน ปี ที่ส่งออกตามใบตราส่งสินค้า และทำเครื่องหมาย X เลือกเส้นทางขนส่งในช่อง Mode of Transport

ช่อง Vessel / Flight No.
ระบุชื่อ และหมายเลขของเรือสินค้าหรือเที่ยวบิน

ช่อง Place of Departure
ระบุท่าเรือที่ขนสินค้าลงเรือ

ช่อง Shipping Mark
ระบุรายละเอียด เครื่องหมายบนหีบห่อของสินค้า ถ้าปรากฏเครื่องหมายยาวมากไม่อาจระบุได้หมด ให้ระบุมาเพียง 2-3 บรรทัดแรก แล้วต่อด้วย Details as per B/L หรือ AWB No. … Dated … ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายบนหีบห่อให้ระบุคำว่า Address หรือ No Mark

ช่อง Description of Goods
ระบุชนิดของสินค้าและจำนวนหีบห่อ ข้อความอื่น ๆ อาทิ คุณภาพของสินค้า ราคา ระเบียบการนำเข้า ฯลฯ มิให้ระบุ การกรอกข้อความมิให้เว้นบรรทัด เมื่อจบรายการสินค้าแต่ละรายการแล้ว หากปรากฏว่ายังมีช่องว่างในบรรทัดนี้ ให้พิมพ์เครื่องหมายดอกจัน (****) ปิดท้ายไว้ และเมื่อจบรายการสินค้าทั้งหมดแล้วให้ขีดเส้นใต้ปิดข้อความบรรทัดสุดท้าย พร้อมทั้งเส้นทะแยงมุมช่องว่างส่วนที่เหลือ

ช่อง Gross Weight
ระบุน้ำหนัก G.W. หรือปริมาณอื่น ๆ ของสินค้าที่ส่งออก

ช่อง Invoice date & No.
ระบุเลขที่ และวันเดือนปีของ Invoice
หมายเหตุ สำหรับช่อง Reference No., Supplementary details และ Authorized signature ให้ว่างไว้สำหรับเจ้าหน้าที่

Form C/O เม็กซิโก
Form C/O เม็กซิโก เป็นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าประเทศเม็กซิโก กำหนดให้ใช้สำหรับสินค้าประเภทสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าที่ส่งออกไปยังเม็กซิโกตามพิกัด และรายการสินค้าที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ


วิธีปฏิบัติในการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนินสินค้า Form C/O เม็กซิโก

1. การขอหนังสือรับรองฯ C/O เม็กซิโก
ผู้ส่งออกจะต้องยื่นคำขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนินสินค้าและแบบ Form C/O เม็กซิโกที่พิมพ์ข้อความครบถ้วน ถูกต้องต่อหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองฯ
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานเดียวที่มีอำนาจในการออก C/O สินค้าสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า ไปเม็กซิโก

2. เอกสารประกอบการยื่นขอ Form C/O เม็กซิโก
· ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice) ต้นฉบับ หรือสำเนา
· ใบตราส่งสินค้า (Bill of Landing - B/L) หรือใบรับขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) หรือเอกสาร แสดงการขนส่งสินค้าอื่น ๆ ต้นฉบับ หรือสำเนา
หมายเหตุ สำเนาเอกสารให้ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตรารับรองความถูกต้อง

3. การพิมพ์ข้อความใน Form C/O เม็กซิโก
ช่องที่ 1 : ระบุชื่อ ที่อยู่ เมือง ประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรของผู้ส่งออก
ช่องที่ 2 : ระบุชื่อ ที่อยู่ เมือง ประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรของผู้ผลิตสินค้า
ช่องที่ 3 : ระบุชื่อ ที่อยู่ เมือง ประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ และโทรสาร เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรของผู้นำเข้า
ช่องที่ 4 : ระบุหมายเลขพิกัดอัตราศุลกากร (Harmonized System – HS) ของสินค้าโดย ใช้เลขรหัส 6 ตัว
ช่องที่5 : ระบุชนิดสินค้าโดยละเอียด พร้อมทั้งจำนวนสินค้าที่สอดคล้องกับใบกำกับ สินค้า(Invoice) และเอกสาร แสดงการขนส่ง
ช่องที่ 6 : ระบุเลขที่ วันที่ของ Invoice และเลขที่ วันที่ของ Bill of Lading หรือ Air Waybill
ช่องที่ 7 : ระบุหลักเกณฑ์ที่แสดงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า โดยใช้สัญลักษณ์ “A” ถึง “F“ ดังนี้
A : กรณีที่สินค้าทั้งหมดเป็นผลิตผล (wholly produced) หรือทั้งหมดได้จาก (wholly obtained) ในประเทศไทย
B : กรณีที่สินค้าผลิตจากวัสดุที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย
C : กรณีที่สินค้าผลิตโดยมีวัสดุนำเข้าเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และมีการแปรสภาพในประเทศไทย อันมีผลทำให้สินค้าที่ส่งออกมีพิกัดศุลกากรเปลี่ยนแปลงไปจากพิกัดฯ ของวัสดุนำเข้าและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะของสินค้าแต่ละพิกัดฯ
D : กรณีที่สินค้าไม่อยู่ในรายการที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือว่าประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้าได้แก่ประเทศสุดท้ายที่ทำการแปรสภาพสินค้าอย่างเพียงพอ อันมีผลทำให้สินค้านั้นมีพิกัดศุลกากรเปลี่ยนแปลงไปจากพิกัดฯ ของวัสดุนำเข้า
E : กรณีที่ไม่อาจใช้หลักเกณฑ์ทั่วไปตามข้อ 3 (ค) ของระบบฮาร์โมไนซ์ จำแนกประเภทของสินค้าได้และกรณีที่ไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์ A-D ข้างต้นกำหนดประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าได้ ให้ถือว่าประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด สินค้า หมายถึง ประเทศหนึ่งหรือหลายประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของวัสดุต่าง ๆ ซึ่งแสดงลักษณะอันเป็น สาระสำคัญของสินค้านั้น
F : กรณีไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์ A-D ข้างต้น กำหนดประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า และควรใช้หลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) ของระบบฮาร์ โมไนซ์กำหนดประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ให้ถือว่าประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้า หมายถึงประเทศหนึ่ง หรือหลายประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของวัสดุชนิดที่อาจใช้ในการพิจารณาจำแนกประเภท
ช่องที่ 8 : ระบุประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดสินค้า
ช่องที่ 9 : คำรับรองของผู้ส่งออก โดยระบุจำนวนหน้าของ C/O ชื่อและลายมือชื่อของผู้มี อำนาจ พร้อมทั้งประทับตราบริษัทรับรอง
ช่องที่ 10 : ผู้นำเข้าเป็นผู้รับรองข้อความในช่องนี้ ระบุชื่อและลายมือชื่อของผู้นำเข้า
ช่องที่ 11 : ให้เว้นว่างไว้สำหรับหน่วยงานที่ออก C/O เป็นผู้รับรอง

No comments: