border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; border-bottom-color:#ffffff; padding-top:10px; padding-right:14px; padding-bottom:1px; padding-left:29px; } html>body .post-body { border-bottom-width:0; } .post p { margin:0 0 .75em; } .post-footer { background: #ffffff; margin:0; padding-top:2px; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px; font-size:100%; line-height:1.5em; color: #666666; } .post-footer p { margin: 0; } html>body .post-footer { border-bottom-color:transparent; } .uncustomized-post-template .post-footer { text-align: right; } .uncustomized-post-template .post-author, .uncustomized-post-template .post-timestamp { display: block; float: left; text-align:left; margin-right: 4px; } .post-footer a { color: #456; } .post-footer a:hover { color: #234; } a.comment-link { /* IE5.0/Win doesn't apply padding to inline elements, so we hide these two declarations from it */ background/* */:/**/url("http://www.blogblog.com/rounders/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } html>body a.comment-link { /* Respecified, for IE5/Mac's benefit */ background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } .post img { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:5px; margin-left:0; padding:4px; border:1px solid #bbbbbb; } blockquote { margin:.75em 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px 0; padding:5px 15px; color: #558866; } .post blockquote p { margin:.5em 0; } #blog-pager-newer-link { float: left; margin-left: 13px; } #blog-pager-older-link { float: right; margin-right: 13px; } #blog-pager { text-align: center; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; margin-left: 13px; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments { margin:-25px 13px 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; padding-top:20px; padding-right:0; padding-bottom:15px; padding-left:0; } #comments h4 { margin:0 0 10px; padding-top:0; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; font-size:120%; line-height:1.4em; color:#0066CC; } #comments-block { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:0; margin-left:9px; } .comment-author { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat 2px .3em; margin:.5em 0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; font-weight:bold; } .comment-body { margin:0 0 1.25em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; } .comment-body p { margin:0 0 .5em; } .comment-footer { margin:0 0 .5em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:.75em; padding-left:20px; } .comment-footer a:link { color: #333; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 5px; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; border: 4px solid #0066CC; } .profile-datablock { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding-top:8px; } .profile-link { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_profile.gif") no-repeat left .1em; padding-left:15px; font-weight:bold; } .profile-textblock { clear: both; margin: 0; } .sidebar .clear, .main .widget .clear { clear: both; } #sidebartop-wrap { background:#ffffff url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_bot.gif") no-repeat left bottom; margin:0px 0px 15px; padding:0px 0px 10px; color:#0066CC; } #sidebartop-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_top.gif") no-repeat left top; padding: 10px 0 0; margin:0; border-width:0; } #sidebartop h2 { line-height:1.5em; color:#0066CC; border-bottom: 1px dotted #0066CC; font: normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; margin-bottom: 0.5em; } #sidebartop a { color: #3D81EE; } #sidebartop a:hover { color: #99C9FF; } #sidebartop a:visited { color: #99C9FF; } #sidebar a { color: #ffffff; } #sidebar a:hover, #sidebar a:visited { color: #ffffff; } /* Sidebar Boxes ----------------------------------------------- */ .sidebar .widget { margin:.5em 13px 1.25em; padding:0 0px; } .widget-content { margin-top: 0.5em; } #sidebarbottom-wrap1 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_top.gif") no-repeat left top; margin:0 0 15px; padding:10px 0 0; color: #C3D9FF; } #sidebarbottom-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:0 0 8px; } .sidebar h2 { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding:0 0 .2em; line-height:1.5em; font:normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; } .sidebar ul { list-style:none; margin:0 0 1.25em; padding:0; } .sidebar ul li { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_arrow_sm.gif") no-repeat 2px .25em; margin:0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:3px; padding-left:16px; margin-bottom:3px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; line-height:1.4em; } .sidebar p { margin:0 0 .6em; } #sidebar h2 { color: #ffffff; border-bottom: 1px dotted #ffffff; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer-wrap1 { clear:both; margin:0 0 10px; padding:15px 0 0; } #footer-wrap2 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_top.gif") no-repeat left top; color:#C3D9FF; } #footer { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:8px 15px; } #footer hr {display:none;} #footer p {margin:0;} #footer a {color:#C3D9FF;} #footer .widget-content { margin:0; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #main-wrap1, body#layout #sidebar-wrap, body#layout #header-wrapper { margin-top: 0; } body#layout #header, body#layout #header-wrapper, body#layout #outer-wrapper { margin-left:0, margin-right: 0; padding: 0; } body#layout #outer-wrapper { width: 730px; } body#layout #footer-wrap1 { padding-top: 0; } } #navbar { display:none; } -->
แหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งออก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานแสดงสินค้า
หากมีข้อสงสัยที่ท่านต้องการทราบเป็นพิเศษ โปรดแจ้งที่ kawi2517@gmail.com
เรายินดีค้นหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้กับท่านค่ะ
 

9/04/2008

การยื่นขอเอกสารประกอบการส่งออก (2)

Form A แบบพิมพ์ เอ

เป็นใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ประเภทหนึ่งที่ใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการขอรับสิทธิประโยชน์ทั่วไปทางภาษีศุลกากร ที่ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มประเทศ EU และ ญี่ปุ่น ให้แก่สินค้าออกบางประเภทของประเทศกำลังพัฒนา เงื่อนไขการออก Form A จะเป็นไปตามที่ประเทศที่ผู้ให้สิทธิประโยชน์ กำหนด เช่น ต้องเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตในประเทศที่จะได้รับสิทธิพิเศษนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เป็นต้น

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขอ Form A

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอขึ้นทะเบียน Form A

- สำเนาคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขอ Form A
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
- สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (แบบ รบ.4) (กรณีที่เป็นโรงงานผู้ผลิต)
- เอกสารอื่น ๆ ตามที่กรมการค้าต่างประเทศพิจารณาเห็นสมควร (จะเรียกเฉพาะรายที่จำเป็น)S ให้ผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และประทับตราสำคัญของบริษัทในสำเนาเอกสาร


คุณสมบัติของผู้ขอยื่นขอขึ้นทะเบียน Form A ต้องเป็นนิติบุคคล ตามระเบียบที่กำหนดไว้ดังนี้

· บริษัทการค้าระหว่างประเทศ
· โรงงานผู้ผลิตสินค้า ชนิดที่ส่งออก
· ผู้ส่งออกทั่วไป
· ตัวแทนรับส่งสินค้า

การยื่นขอขึ้นทะเบียน Form A จะต้องยื่นที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า หรือที่สำนักงานการค้าต่างประเทศ ที่ตนมีสำนักงานหรือมีการดำเนินการส่งออกภายในเขตอำนาจ หากปรากฏว่าคำขอถูกต้องผู้ส่งออกจะได้รับ เลขทะเบียนและเอกสารแสดงการขึ้นทะเบียน เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีที่ขอหนังสือรับรอง Form A โดยระบุหมายเลขทะเบียนไว้ในแบบคำขอหนังสือรับรอง Form A ทุกครั้งที่ขอ Form A และต้องดำเนินการต่ออายุการขึ้นทะเบียนให้เสร็จสิ้นก่อนอายุทางขึ้นทะเบียนจะหมดสิ้นลง ซึ่งการต่ออายุจะต่อให้ครั้งละ 1 ปี แบบคำขอขึ้นทะเบียนและแบบคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียน ผู้ส่งออกจะสามารถขอซื้อได้ที่สำนักบริหารการนำเข้าและส่งออก และสำนักงานการค้าต่างประเทศ

วิธีปฏิบัติการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form A

1. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขอหนังสือรับรอง Form A

- การยื่นขอ Form A ผู้ส่งออกจะต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขอ Form A หรือจดทะเบียนเป็นผู้ ส่งออกสินค้าใดสินค้าหนึ่งไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ หรือเป็นสมาชิกสมาคมการค้าใดการค้า
หนึ่ง หรือเป็นสมาชิกสมาคมการค้าใดการค้าหนึ่ง หรือเป็นสมาชิกของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

2. การยื่นคำขอหนังสือรับรอง

- ยื่นแบบคำขอหนังสือรับรองตามแบบที่กำหนด พร้อมด้วย Form A ซึ่งพิมพ์ข้อความ ครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice) ต้นฉบับหรือสำเนาคู่ฉบับ
- ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading – B/L) หรือใบรับขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Way Bill) หรือเอกสารแสดงการขนส่งสินค้าอื่น ๆ ต้นฉบับหรือสำเนาคู่ฉบับ
- หนังสือรับรองอัตราส่วนต้นทุนการผลิตสินค้าทั่วไป หรือ
- หนังสือรับรองรายละเอียดขั้นตอนการผลิตสินค้าสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (ตามพิกัด 50-63) เฉพาะกรณีที่ส่งสินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอไปสหภาพยุโรป สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (นอรเวย์ สวิตเซอร์แลนด์) และญี่ปุ่น

หมายเหตุ
· สำหรับสินค้าที่ผลิตโดยวัสดุนำเข้า และ/หรือมีขั้นตอนการผลิตที่สลับซับซ้อน เช่น สินค้าภายใต้พิกัด 84 ขึ้นไป ผู้ส่งออกจะต้องยื่น หนังสือรับรองรายละเอียดขั้นตอนการผลิตต้นทุนและราคาสินค้า (ตามแบบที่กำหนด) ให้ฝ่ายตรวจสอบ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้าตรวจสอบก่อนการยื่นขอหนังสือรับรอง
· สำเนาเอกสารให้ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตรารับรองความถูกต้องด้วย

3. การพิมพ์ข้อความในหนังสือรับรอง

ช่องที่ 1 ชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้ส่งออก จะต้องถูกต้องตรงกันกับเอกสารที่ยื่น ประกอบ กรณีที่ต้องระบุทั้งชื่อผู้ ส่งออก และผู้ที่ยินยอมให้ทำการแทน ให้ ระบุชื่อที่อยู่ประเทศผู้ส่งออกและตามด้วย O/B (on behalf of) ชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้ยินยอม หรือ ระบุชื่อ ที่อยู่ ของประเทศผู้ยินยอมให้กระทำการแทน และตามด้วย C/O (Care of) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออก

ช่องที่ 2 ชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้รับปลายทางหรือผู้ซื้อ

ช่องที่ 3 ระบุวิธีการขนส่ง เช่น by sea freight, by air freight, by parcel post ฯลฯ ใน กรณีที่ส่งผ่านประเทศอื่นให้แสดงชื่อประเทศ หรือเมืองท่าที่ส่งผ่าน ด้วย

ช่องที่ 4 ให้เว้นว่างไว้สำหรับเจ้าหน้าที่

ช่องที่ 5 ลำดับที่รายการสินค้า ให้เรียงลำดับ 1-2-3-4 ฯลฯ โดยให้ตรงกับรายการ สินค้าแต่ละรายการที่แสดงไว้ในช่อง 7

ช่องที่ 6 ระบุรายละเอียดเครื่องหมายบนหีบห่อของสินค้า (Shipping Mark) หาก รายละเอียดมีมากและไม่อาจระบุในช่อง 6 ได้หมด ให้ระบุมาเพียง 2-3 บรรทัดแรก แล้วต่อด้วย Details as per B/L or AWB No……………………....Deted………… ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายบนหีบห่อ ระบุคำว่า Address หรือ No Mark

ช่องที่ 7 ระบุชื่อสินค้าและจำนวนหีบห่อโดยให้ระบุเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ข้อความอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น คุณภาพสินค้า ราคาสินค้า ระเบียบในการนำเข้าประเทศต่าง ๆ เป็นต้น มิให้ระบุ การกรอกข้อความมิให้เว้นบรรทัด เมื่อจบรายการสินค้าแต่ละรายการแล้ว หากปรากฏว่ายังมี ช่องว่างในบรรทัดนี้ ให้พิมพ์เครื่องหมายดอกจัน 4 ดอก ปิดท้ายไว้และ เมื่อจบรายการสินค้าทั้งหมดแล้ว ให้ขีดเส้นใต้ปิดข้อความบรรทัดสุดท้าย พร้อมทั้งเส้นทะแยงมุมช่องว่างส่วนที่เหลือ

ช่องที่ 8 ระบุหลักเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของแต่ละประเทศให้ตรงกับสินค้าแต่ละ รายการ ดังนี้

(1) ในกรณีเป็นสินค้าที่ผลิตโดยใช้วัสดุของประเทศไทยทั้งหมด ให้ระบุอักษร “P”
(2) ในกรณีเป็นสินค้าที่ผลิตโดยมีวัสดุนำเข้าเป็นส่วนประกอบ ให้ใช้สัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
(2.1) ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) นอรเวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และญี่ปุ่น ใช้อักษร “ W ” ตามด้วยพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้า เช่น

“ W ”
98.02

(2.2) บัลแกเรีย สาธารณรัฐเช็ค ฮังการี โปแลนด์ และรัสเซียใช้อักษร “ Y ” ตามด้วยร้อยละของต้นทุนวัสดุนำเข้าต่อราคา FOB. (ไม่เกินร้อยละ 50) เช่น

“ Y “
40%

กรณีสินค้าผลิตในประเทศผู้รับสิทธิพิเศษประเทศหนึ่งและส่งไปผลิตต่อใน ประเทศผู้รับสิทธิพิเศษฯ อีกประเทศหนึ่งให้ระบุอักษร “PK” แทนอักษร “Y”

(2.3) ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
- ไม่ต้องระบุข้อความในช่อง 8

หมายเหตุ
- ในกรณีเป็นการส่งออกไปออสเตรเลีย ผู้ส่งออกสามารถรับรองใน Commercial Invoice (ตามข้อความที่กำหนด) หรือจะเลือกใช้ หนังสือรับรอง Form A แนบไปกับ Commercial Invoice โดยไม่ ต้องให้ทางราชการรับในช่อง 11 ก็ได้

- นิวซีแลนด์ ผู้ส่งออกรับรองด้วยตนเองในหนังสือรับรอง Form A หรือ FORM 59 A (ขอรับได้ที่สถานทูตนิวซีแลนด์) และไม่ต้อง ทางราชการรับรองในช่องที่ 11

ช่องที่ 9 ระบุน้ำหนัก (Gross Weight) ของสินค้า กรณีที่ไม่สามารถระบุ Gross Weight ให้ใช้ปริมาณอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่น้ำหนักแทนได้ เช่น carat, bundle

ช่องที่ 10 ระบุเลขที่ และวัน เดือน ปี ของ Commercial Invoice

ช่องที่ 11 ให้เว้นว่างไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง


ช่องที่ 12 ระบุประเทศนำเข้าปลายทาง ชื่อจังหวัด ที่ตั้งของบริษัท/ห้าง/ร้าน ผู้ ส่งออก (ตรงกับ ช่อง 1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นขอหนังสือรับรอง พร้อมทั้ง เซ็นชื่อและประทับตราบริษัท / ห้าง / ร้าน

การขอรับสิทธิ GSP สำหรับสินค้าส่งไปสหรัฐอเมริกา

· สหรัฐอมริกาได้ออกประกาศยกเลิกการใช้ Form A เป็นหลักฐานประกอบการขอรับสิทธิพิเศษ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2537 โดยให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้

1. กรณีเป็นสินค้าที่ได้จากผลิตผลทั้งหมด (Wholly the growh. Product or manufacture) ในประเทศไทย ให้ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้ารับรองข้อความว่าเป็นผลิตผลทั้งหมดในประเทศใน Commercial Invoice

2. กรณีเป็นสินค้าที่นอกเหนือจากข้อ 1 ผู้ส่งออกไม่ต้องรับรองข้อความใด ๆ แต่ให้เก็บหลักฐานเกี่ยวกับการผลิตและการส่งออกทั้งหมดไว้อย่างน้อย 5 ปี หากศุลกากรสหรัฐฯ เรียกตรวจสอบให้ผู้ส่งออกแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตและการส่งออกตามแบบที่สหรัฐฯ กำหนด

การขอรับสิทธิ GSP สำหรับสินค้าส่งไปแคนาดา
แคนาดาได้ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติใหม่ในการขอรับสิทธิ GSP ตั้งแต่ 17 กันยายน 2540 เป็นต้นมา โดยผู้ส่งออกสามารถรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง โดยจัดทำเอกสารรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของผู้ส่งออก (Exporter’s Statement of Origin) ลงในเอกสารทางการค้า เช่น ใบส่งสินค้าศุลกากรแคนาดา (Canada Customs Invoice) หรือ ใบกำกับสินค้า (Commercial Invoice) เป็นต้น หรือทำเป็นเอกสารแยกต่างหากก็ได้

No comments: