border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; border-bottom-color:#ffffff; padding-top:10px; padding-right:14px; padding-bottom:1px; padding-left:29px; } html>body .post-body { border-bottom-width:0; } .post p { margin:0 0 .75em; } .post-footer { background: #ffffff; margin:0; padding-top:2px; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px; font-size:100%; line-height:1.5em; color: #666666; } .post-footer p { margin: 0; } html>body .post-footer { border-bottom-color:transparent; } .uncustomized-post-template .post-footer { text-align: right; } .uncustomized-post-template .post-author, .uncustomized-post-template .post-timestamp { display: block; float: left; text-align:left; margin-right: 4px; } .post-footer a { color: #456; } .post-footer a:hover { color: #234; } a.comment-link { /* IE5.0/Win doesn't apply padding to inline elements, so we hide these two declarations from it */ background/* */:/**/url("http://www.blogblog.com/rounders/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } html>body a.comment-link { /* Respecified, for IE5/Mac's benefit */ background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat left 45%; padding-left:14px; } .post img { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:5px; margin-left:0; padding:4px; border:1px solid #bbbbbb; } blockquote { margin:.75em 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:1px 0; padding:5px 15px; color: #558866; } .post blockquote p { margin:.5em 0; } #blog-pager-newer-link { float: left; margin-left: 13px; } #blog-pager-older-link { float: right; margin-right: 13px; } #blog-pager { text-align: center; } .feed-links { clear: both; line-height: 2.5em; margin-left: 13px; } /* Comments ----------------------------------------------- */ #comments { margin:-25px 13px 0; border:1px dotted #bbbbbb; border-width:0 1px 1px; padding-top:20px; padding-right:0; padding-bottom:15px; padding-left:0; } #comments h4 { margin:0 0 10px; padding-top:0; padding-right:14px; padding-bottom:2px; padding-left:29px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; font-size:120%; line-height:1.4em; color:#0066CC; } #comments-block { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:0; margin-left:9px; } .comment-author { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_comment.gif") no-repeat 2px .3em; margin:.5em 0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; font-weight:bold; } .comment-body { margin:0 0 1.25em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:0; padding-left:20px; } .comment-body p { margin:0 0 .5em; } .comment-footer { margin:0 0 .5em; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:.75em; padding-left:20px; } .comment-footer a:link { color: #333; } .deleted-comment { font-style:italic; color:gray; } /* Profile ----------------------------------------------- */ .profile-img { float: left; margin-top: 5px; margin-right: 5px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0; border: 4px solid #0066CC; } .profile-datablock { margin-top:0; margin-right:15px; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding-top:8px; } .profile-link { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_profile.gif") no-repeat left .1em; padding-left:15px; font-weight:bold; } .profile-textblock { clear: both; margin: 0; } .sidebar .clear, .main .widget .clear { clear: both; } #sidebartop-wrap { background:#ffffff url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_bot.gif") no-repeat left bottom; margin:0px 0px 15px; padding:0px 0px 10px; color:#0066CC; } #sidebartop-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_prof_top.gif") no-repeat left top; padding: 10px 0 0; margin:0; border-width:0; } #sidebartop h2 { line-height:1.5em; color:#0066CC; border-bottom: 1px dotted #0066CC; font: normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; margin-bottom: 0.5em; } #sidebartop a { color: #3D81EE; } #sidebartop a:hover { color: #99C9FF; } #sidebartop a:visited { color: #99C9FF; } #sidebar a { color: #ffffff; } #sidebar a:hover, #sidebar a:visited { color: #ffffff; } /* Sidebar Boxes ----------------------------------------------- */ .sidebar .widget { margin:.5em 13px 1.25em; padding:0 0px; } .widget-content { margin-top: 0.5em; } #sidebarbottom-wrap1 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_top.gif") no-repeat left top; margin:0 0 15px; padding:10px 0 0; color: #C3D9FF; } #sidebarbottom-wrap2 { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_side_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:0 0 8px; } .sidebar h2 { margin-top:0; margin-right:0; margin-bottom:.5em; margin-left:0; padding:0 0 .2em; line-height:1.5em; font:normal bold 100% 'Trebuchet MS',Verdana,Arial,Sans-serif; } .sidebar ul { list-style:none; margin:0 0 1.25em; padding:0; } .sidebar ul li { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/icon_arrow_sm.gif") no-repeat 2px .25em; margin:0; padding-top:0; padding-right:0; padding-bottom:3px; padding-left:16px; margin-bottom:3px; border-bottom:1px dotted #bbbbbb; line-height:1.4em; } .sidebar p { margin:0 0 .6em; } #sidebar h2 { color: #ffffff; border-bottom: 1px dotted #ffffff; } /* Footer ----------------------------------------------- */ #footer-wrap1 { clear:both; margin:0 0 10px; padding:15px 0 0; } #footer-wrap2 { background:#006699 url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_top.gif") no-repeat left top; color:#C3D9FF; } #footer { background:url("http://www.blogblog.com/rounders3/corners_cap_bot.gif") no-repeat left bottom; padding:8px 15px; } #footer hr {display:none;} #footer p {margin:0;} #footer a {color:#C3D9FF;} #footer .widget-content { margin:0; } /** Page structure tweaks for layout editor wireframe */ body#layout #main-wrap1, body#layout #sidebar-wrap, body#layout #header-wrapper { margin-top: 0; } body#layout #header, body#layout #header-wrapper, body#layout #outer-wrapper { margin-left:0, margin-right: 0; padding: 0; } body#layout #outer-wrapper { width: 730px; } body#layout #footer-wrap1 { padding-top: 0; } } #navbar { display:none; } -->
แหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งออก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานแสดงสินค้า
หากมีข้อสงสัยที่ท่านต้องการทราบเป็นพิเศษ โปรดแจ้งที่ kawi2517@gmail.com
เรายินดีค้นหาคำตอบเพื่อไขข้อข้องใจให้กับท่านค่ะ
 

10/22/2008

เป้าหมายการส่ออกปี 2551 และกลยุทธ์/แผนส่งเสริมการส่งออก

การส่งออกปี 2550

  • การส่งออกปี 2550 มีมูลค่า 152.478 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 17.5 สูงกว่าเป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 12.5 ในรูปเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 5,254,999.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4
  • ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การส่งออกในปี 2550 ขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่
  1. ภาวะเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ประเทศในแถบเอเซีย ยกเว้นสหรัฐฯที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง
  2. ความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีอยู่สูง โดยเฉพาะ ข้าวและมันสำปะหลัง
  3. ความสามารถและความสำเร็จในการปรับตัวของภาคเอกชนในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยและสินค้าไทย ทำให้สามารถขยายการส่งออกสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง
  4. ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินมาตรการเชิงรุกในการบุกเบิกและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ ที่ดำเนินการมาโดยตลอดและได้เพิ่มการดำเนินการที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะตลาดใหม่ มีการดำเนินมาตรการเชิงรุกร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเจาะตลาดอย่างต่อเนื่อง และเป็นผลทำให้สามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น
  5. ความสำเร็จจากการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area) ระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดีย ทำให้สามารถขยายการส่งออกไปประเทศเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น

  • สินค้าส่งออก สินค้าสำคัญส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวด ทั้งสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และ สินค้าอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 , 17.7 และ 17.8 ตามลำดับ
  • สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรสำคัญส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและ มูลค่า ได้แก่ ข้าวปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 และ 34.3 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 23.2 ตามลำดับ สินค้าอาหาร( อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักและผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และ ไก่แช่แข็งและแปรรูป) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และ 13.3 ตามลำดับ และน้ำตาลปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.1 และ 70.7 ตามลำดับ ขณะที่ยางพารา มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 แต่ปริมาณลดลงร้อยละ 3.0 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 2.6 และ 3.5 ตามลำดับ เนื่องจากสหรัฐฯใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากุ้งจากไทย ทั้งมาตรการ AD และ การวางพันธบัตรค้ำประกัน
  • สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้น
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 15 ได้แก่ ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่อง ใช้ไฟฟ้า เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง(เหล็กและเหล็กกล้า) อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์เภสัช/เครื่องมือแพทย์
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 10 – 15 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนังและรองเท้า
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ และ เครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่งบ้าน
  • สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ของเล่น ลดลงร้อยละ 2.7 จากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทและการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะจีน
  • สินค้าอื่น ๆ ที่สำคัญและส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ส่วนประกอบของอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ทองแดง และ เลนส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 , 14.2 , 41.1 , 27.7 และ 25.3 ตามลำดับ
  • ตลาดส่งออก เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในตลาดใหม่และตลาดหลัก ร้อยละ 25.9 และ 11.2 ตามลำดับ และทำให้สัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 46.2 ขณะที่สัดส่วนการส่งออกไปตลาดหลักลดลงเป็นร้อยละ 53.8 (ปี 2549 สัดส่วนตลาดใหม่ : ตลาดหลัก คือ 43.2 : 56.8)
  • ตลาดหลัก ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องใน 3 ตลาด คือ อาเซียน(5) สหภาพยุโรป(15) และ ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 , 15.6 และ 10.6 ตามลำดับ ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.2 อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัว ภาวะการแข่งขันในตลาด การแข็งค่าของเงินบาทและการประกาศจะยกเลิกการให้ GSP สินค้าไทย
  • ตลาดใหม่ เพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 58.2)อินเดีย(ร้อยละ 47.2) แอฟริกา(ร้อยละ 36.9) ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 33.7) ออสเตรเลีย(ร้อยละ 29.5) ตะวันออกกลาง(ร้อยละ 29.1) จีน(ร้อยละ 26.5) อินโดจีนและพม่า(ร้อยละ 22.1) และ ฮ่องกงร้อยละ 21.2) รวมทั้ง เกาหลีใต้ และ แคนาดาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 และ 10.3 ตามลำดับ ขณะที่ไต้หวันส่งออกลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.4 เป็นการลดลงของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบซึ่งลดลงถึงร้อยละ 52.4 ตามการลดลงของการส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไต้หวันไปยังสหรัฐฯ

เป้าหมายการส่งออกปี 2551

ในปี 2551 กำหนดเป้าหมายการส่งออกให้ขยายตัวร้อยละ 12.5 คิดเป็นมูลค่า 171,537 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและมีค่าเฉลี่ยประมาณ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2551 โดยเฉลี่ยประมาณ 85.00 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล


เป้าหมายการส่งออกสินค้าสำคัญ

  • สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรกำหนดเป้าหมายให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 มี สัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.7 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าสำคัญที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และ สินค้าอาหาร(อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไก่แช่แข็งและแปรรูป ผักและผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป) สำหรับ ข้าว คาดว่ามูลค่าส่งออกจะลดลงร้อยละ 4.2 โดยเป็นการลดลงของปริมาณส่งออกร้อยละ 4.9 ขณะที่ราคาส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เนื่องจากในปี 2550 มีการส่งออกข้าวมากกว่า 9 ล้านเมตริกตัน และ น้ำตาล คาดว่าจะส่งออกลดลงร้อยละ 4.3 เป็นการลดลงของราคาส่งออกร้อยละ 3.7 ตามการลดลงของราคาในตลาดโลก ขณะที่ปริมาณส่งออกลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6
  • สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญกำหนดเป้าหมายให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 66.6 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าสำคัญส่วนใหญ่คาดว่าจะยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอ เม็ดพลาสติก วัสดุก่อสร้าง อัญมณี ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เภสัช/เครื่องมือแพทย์

เป้าหมายการส่งออกไปยังตลาดส่งออก

  • ตลาดหลักกำหนดเป้าหมายให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 51.2 ของมูลค่าส่งออกรวม ได้แก่ สหรัฐฯร้อยละ 2.0 ญี่ปุ่นร้อยละ 10.0 สหภาพยุโรป(15) ร้อยละ 7.0 และ อาเซียน(5) ร้อยละ 8.8
  • ตลาดใหม่กำหนดเป้าหมายให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 มี สัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 48.8 ของมูลค่าส่งออกรวม ที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 25.0) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 25.0) อินโดจีนและพม่า(ร้อยละ 20.0) ตะวันออกกลาง(ร้อยละ 20.0) แอฟริกา(ร้อยละ 20.0) และตลาดที่มีการจัดทำ FTA ได้แก่ อินเดีย(ร้อยละ 40.0) ออสเตรเลีย(ร้อยละ 20.0) และจีน(ร้อยละ 20.0)


ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออก

ปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกในปี 2551

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้รายงานล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2550 ว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกและตลาดส่งออกสำคัญ ในปี 2551 ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2550 แต่อัตราขยายตัวมีแนวโน้มชะลอตัว จากร้อยละ 5.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 4.8 ในปี 2551 โดยเฉพาะในตลาดส่งออกหลักสำคัญ คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และประเทศในแถบเอเซีย ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.9, 1.7, 2.1 และ 8.8 ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการค้าของโลกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 6.6 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 6.7 ในปี 2551
  • ผู้ประกอบการไทยได้รับการยอมรับในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน มีความซื่อสัตย์และตรงต่อเวลา มากกว่าประเทศคู่แข่ง ผู้ซื้อในต่างประเทศหันกลับมาซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งคู่แข่งมีการลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีโอกาสในการขยายการส่งออกมากขึ้น
  • แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรจะยังคงดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ข้าว มันสำปะหลังและธัญพืชอื่น ๆ เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังมีอยู่สูง
  • ผลประโยชน์จากการจัดทำ FTA ของไทยกับประเทศต่าง ๆ เป็นโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ ทั้ง จีน อินเดีย ออสเตรเลีย โดยเฉพาะการจัดทำ JTEPA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550) และ การขยายความร่วมมือในการจัดทำ FTA ไทยกับอินเดีย (กำลังดำเนินการ)
  • ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินมาตรการเชิงรุกในการบุกเบิกและขยายตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ ซึ่งจะเพิ่มการดำเนินการที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการดำเนินมาตรการใหม่ ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นในปี 2551 ซึ่งจะมีผลทำให้การส่งออกไปยังตลาดต่าง ๆ โดยเฉพาะตลาดใหม่สามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออก

  • ทิศทางและแนวโน้มของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีการปรับตัวสูงขึ้นและมีความผันผวนค่อนข้างมาก
  • ทิศทางและแนวโน้มของเศรษฐกิจของตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯ จากผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อ Sub-prime และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาวะเศรษฐกิจและการค้าของประเทศอื่น ๆ ที่เป็นคู่ค้ากับสหรัฐฯ
  • ทิศทางและแนวโน้มของค่าเงินบาท และ เสถียรภาพของค่าเงินบาท
  • มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในตลาดส่งออกหลัก สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

ปัญหาเร่งด่วนของการส่งออก

  • ต้นทุนการผลิตในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าสาธารณูปโภค ค่าขนส่ง ค่าระวางเรือ รวมทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะมีการปรับสูงขึ้นเพื่อลดแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยอย่างมาก
  • ปัญหาภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะ ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ยังมีอยู่ โดยเป็นการขาดแคลนทั้งแรงงานที่มีฝีมือและแรงงานทั่วไป การเพิ่มขึ้นของค่าแรงงานในประเทศ และ ปัญหาราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเล(ปลาทูนา) ไม้ และ อัญมณี เป็นต้น

กลยุทธ์และแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2551

กลยุทธ์และแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2551 จะเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากปี 2550 แต่จะเพิ่มการดำเนินการที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่

1) ใช้การเจรจาการค้าเป็นตัวนำในการเปิดตลาดและแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า ในทุกระดับและทุกเวที

2) ส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลักไม่ให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มี กำลังซื้อสูง มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 55 โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งการดำเนินมาตรการตลาดเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ ทำ business matching นำสินค้าคุณภาพดี ที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand’s Brand) และสินค้าที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากลและมีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยนำผู้ผลิต/ผู้ส่งออกเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ

3) เร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดใหม่ ๆ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 45 โดยเฉพาะประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและแอฟริกา ซึ่งผู้บริโภคนิยม สินค้าไทยและให้คุณค่ามากกว่าสินค้าจากประเทศคู่แข่งโดยการจัด Thailand Exhibition & Outlet รวมทั้งการจัด business matching ให้กับผู้ประกอบการไทย และการนำนักธุรกิจที่มีศักยภาพจากประเทศในตลาดใหม่เดินทางมาเจรจาการค้าและหาลู่ทางการขยายความร่วมมือระหว่างกัน

4) เพิ่มการส่งเสริมธุรกิจบริการอย่างเข้มข้น เพื่อให้ทำการค้าต่างประเทศเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดำเนินการเพื่อส่งเสริมและขยายการส่งออกธุรกิจบริการทั้งในส่วนของธุรกิจบริการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว คือ ร้านอาหารไทย บันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล และ ธุรกิจบริการใหม่ ๆ คือ แฟรนส์ไชส์ การออกแบบ/ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ และ ธุรกิจการรับตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านอินเตอร์เน็ต (Tailor Made) ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศให้มากขึ้น

5) การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาคให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน(ปีงบประมาณ 2550 )ที่มีอยู่ 3,371 ราย (และในปีงบประมาณ 2551 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 2,100 ราย) โดยพัฒนาให้สามารถส่งออกได้ เพื่อเป็นการวางรากฐานการส่งออกในระยะกลาง/ยาว โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจ SMEs และ OTOP ในภูมิภาค

6) การส่งเสริม พัฒนาย่านการค้านานาชาติ ( International Trade Mart) เอกชนในชุมชนธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการค้าอยู่เดิม โดยการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจต่างๆ เหล่านี้ให้สามารถส่งออกได้และพัฒนาย่านการค้าเหล่านี้ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจนานาชาติ โดยจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อม ๆ กับสร้างภาพลักษณ์ International Trade Mart แต่ละย่านการค้าและกลุ่มสินค้าให้เป็นที่รู้จักในระดับโลกเช่น สีลม สุรวงค์ และมเหสักข์ เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติอัญมณีและเครื่องประดับ วรจักรเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ของไทย ใบหยก/โบ๊เบ๊ เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติเสื้อผ้าส่งออก เป็นต้น

7) การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจการผลิต การบริการในต่างประเทศ (Internationalization) ให้มากขึ้นทั้งในเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็งและมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เช่น อาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง พลังงาน สุขอนามัย การทำ Contract Farming เป็นต้น การเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ แสวงหาแหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งสร้างตราสินค้าไทย (Brand Name) ปัจจุบันมีผู้มาขอเข้าร่วมโครงการแล้วประมาณ 260 ราย

8) สนับสนุนการลดต้นทุนในระบบ Trade Logistics โดยดำเนินการพัฒนาระบบ e-Logistic เพื่อไปสู่การให้บริการแบบ Electronic Certification ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมและพัฒนา Trade Logistic Provider (TLP) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการกับผู้ประกอบการไทยในด้านต่าง ๆ อย่างครบวงจรมากขึ้น

9) การพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและธุรกิจบริการของไทย โดยดำเนินการพัฒนาการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาการออกแบบและบรรจุภัณฑ์ การสร้างและพัฒนานักออกแบบ โดยเฉพาะ โครงการประกวดการออกแบบต่าง เช่น อัญมณี เครื่องประดับ การบรรจุ หีบห่อ การนำผู้เชี่ยวชาญจาก ต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแนะนำในการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงและเพิ่มมูลค่าของสินค้า รวมทั้งการ ส่งเสริมการใช้ตราสัญญลัษณ์สินค้าไทย และการจัดประกวด PM’s Export Award

10) ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการส่งออก ที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน การกีดกันทางการค้า กฏระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินการภายในประเทศ เป็นต้น

----------------------------------
กระทรวงพาณิชย์
กรมส่งเสริมการส่งออก

No comments: